วันพฤหัสบดีที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2559

หลวงพ่อเชยเป็นชาวเมืองสิงห์บุรี

หลวงพ่อเชยเป็นชาวเมืองสิงห์บุรี 

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ หลวงพ่อเชยเป็นชาวเมืองสิงห์บุรีโดยกำเนิด ท่านเกิดเมื่อ พ.ศ. 2412 ปีมะเส็ง พออายุได้ 2 ขวบ โยมบิดามารดาได้เสียชีวิตลง ลุงของหลวงพ่อจึงนำไปอุปการะเลี้ยงดู จนกระทั่งอายุของหลวงพ่อได้ 13 ปี จึงได้นำไปฝากเป็นบุตรบุญธรรมของหลวงพ่อแตง ที่วัดเสฐียรวัฒนดิษฐ์ แห่งนี้ ครั้นอายุได้ 20 ปีบริบูรณ์ หลวงพ่อแตงและญาติโยมที่ยังมีชีวิตอยู่ขณะนั้นได้ทำการอุปสมบท ณ วัดเสฐียรวัฒนดิษฐ์ โดยมีหลวงพ่อแตงเป็นพระอุปัชฌาย์ เมื่อหลวงพ่อเชยอุปสมบทแล้ว หลวงพ่อเชยอุปสมบทแล้ว หลวงพ่อเชยอุปสมบทแล้ว หลวงพ่อก็อยู่ที่วัดเสฐียรวัฒนดิษฐ์ตลอดมา
จนหลวงพ่อแตงมรณภาพ ชาวบ้านแถบถิ่นนั้นได้นิมนต์ให้หลวงพ่อเชยรับหน้าที่เป็นเจ้าอาวาสสืบแทนปกครองดูแลพระลูกวัดสืบทอดมา กระทั่งหลวงพ่อเชยมรณภาพลงเมื่อ พ.ศ. 2469 ปีขาล ด้วยโรคลมปัจจุบันทันด่วน สิริรวมอายุได้ 57 ปี พรรษาที่ 39 พรรษา มรณภาพมาแล้ว 62 ปีขณะที่ท่านยังมีชีวิตอยู่นั้นหลวงพ่อได้รับการศึกษาและออกธุดงควัตรหลายแห่ง และเรียนวิทยาการหลายแขนงจากหลวงพ่อแตง โดยศึกษาภาษาไทยบาลีกับหลวงพ่อแตงตั้งแต่อายุ 13 ปี เมื่อบรรพชาเป็นพระภิกษุแล้วได้ศึกษาพระธรรมวินัย พระปริยัติธรรม และวิปัสสนาธุระ รวมตลอดถึงพุทธาคมกับหลวงพ่อแตงมาโดยตลอด หลวงพ่อแตงเป็นพระที่เชี่ยวชาญในด้านวิทยาการหลายแขนง ในฐานะที่หลวงพ่อเป็นศิษย์ได้ถ่ายทอดวิทยาการแขนงต่าง ๆ จากหลวงพ่อแตง หลวงพ่อจึงดำเนินรอยตาม หลวงพ่อแตงทุกอย่าง ออกธุดงควัตรทุกปีรุกขมูลไปทั่วประเทศ เคยไปถึงประเทศ ลาว เขมร และพม่า การออกเดินธุดงควัตรของหลวงพ่อ ทำให้หลวงพ่อได้พบปะพระเกจิอาจารย์เรืองวิทยาคุณตามภาคต่าง ๆ และได้มีโอกาสร่ำเรียนวิทยาคมเพิ่มเติม รวมทั้งการแลกเปลี่ยนวิทยาคมซึ่งกันและกันกับพระอาจารย์นั้น ๆ ซึ่งในจำนวนนี้ก็มีหลวงปู่ศุข (พระครูวิมลคุณากร) วัดปากคลองมะขามเฒ่า ,หลวงพ่อช้าง วัดตึก และหลวงพ่อรุ่ง วัดท่ากระบือสำหรับหลวงพ่อรุ่ง วัดท่ากระบือนั้น มีอายุอานามไล่เลี่ยกัน ไปมาหาสู่กันอยู่เสมอ ถึงกับหลวงพ่อเชยเคยให้พระปิดตาของท่านไปแจกจ่ายที่ อ.กระทุ่มแบน จ.สมุทรสาคร ก็เคยมี และเพราะเหตุนี้เองพระปิดตาที่มีปัญหานี้มีคนเข้าใจว่าเป็นของหลวงพ่อรุ่ง อันที่จริงนั้นหลวงพ่อเชยท่านให้หลวงพ่อรุ่ง เพื่อนำไปแจกจ่ายเป็นของขวัญให้กับญาติโยมและผู้ที่เคารพนับถือ จึงมีคนเข้ใจว่าเป็นพระของหลวงพ่อรุ่งสร้างขึ้น ที่จริงแล้วเป็นพระของหลวงพ่อเชยให้หลวงพ่อรุ่งไปแจกหลวงพ่อเชยขึ้นชื่อลือเลื่องในทางสมถะ เป็นพระมักน้อย ตลอดชีวิตของหลวงพ่อได้ถือปฏิบัติตลอดมาอย่างเคร่งครัด หลวงพ่อได้ถือปฏิบัติตลอดมาอย่างเคร่งครัด หลวงพ่อฉันอาหารวันละมื้อ ปฏิเสธการแต่งตั้งสมณศักดิ์หลายครั้ง ยินดีรับกิจนิมนต์ โดยเฉพาะกิจนิมนต์ที่เกี่ยวกับการตาย แม้หนทางจะไกลแสนไกลสักเพียงใด หลวงพ่อจะต้องไปเสมอ
ข้อยืนยันว่าหลวงพ่อเป็นพระสมถะเพียงใดนั้น จะเห็นได้จากข้อ ความด้านหลังของเหรียญเสมาพระภควัมบดี พ.ศ. 2468 โดยหลวงพ่อให้ใช้คำว่า "ที่รฤกอาจารย์เชย ที่สร้างศาลาโรงธรรม" เท่านั้น โดยไม่ยอมให้ใช้คำว่า "พระอาจารย์เชย" เพราะท่านไม่ต้องการโอ้อวดใด ๆ

วัดเสฐียรวัฒนดิษฐ์นี้ อยู่เหนือปากคลองลำน้ำลพบุรี มีเนื้อที่ประมาณ 17 ไร่เศษ โดยทิศเหนือจรดบ้านและถนน ทิศใต้จรดบ้านไม่มีถนน ทิศตะวันตกจรดแม่น้ำเจ้าพระยา หน้าวัดมีถนนลาดยาง ทิศตะวันออกจรดถนน และที่นาชาวบ้านละแวกนั้น ถนนด้านทิศตะวันออกเรียกว่า ถนนธรรมเสฐียร ไม่ปรากฏหลักฐานว่าสร้างมาแต่เมื่อใด แต่ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อ พ.ศ. 2481 ก่อนหน้านั้นคงมีเพียงวิหารการ ทำสังฆกรรมใด ๆ คงใช้วัดอื่น ปัจจุบันวัดนี้เป็นวัดมหานิกาย บรรดาโบสถ์ วิหารเสนาสนะ และถาวรวัตถุต่าง ๆ ของวัดเป็นของที่สร้างขึ้นใหม่ สมัยหลวงพ่ออ่อน และพระครูวิจิตรสังวรคุณ เจ้าอาวาสองค์ปัจจุบันทั้งสิ้น เพราะของเดิมได้หักพังสิ้นสภาพไปตามกาลเวลาการปกครองดูแลพระลูกวัด ท่านมุ่งให้พระภิกษุ สามเณร อุบาสก อุบาสิกา ให้ได้รับการศึกษา และมุ่งการศึกษาให้มีแก่พระภิกษุ สามเณร โดยมิได้ย่อท้อต่อความเหนื่อยยาก ท่านมองเห็นการณ์ไกลเพื่อประโยชน์ของสังคม ทั้งทางพุทธจักร และอาณาจักร มิได้ประสงค์เพียงเพื่อจะเอาตัวรอดอย่างเดียว นี่คือตะเกียงดวงแรกของวัดเสฐียรวัฒนดิษฐ์ ที่หลวงพ่อเชยได้จุดไว้ยังวัดแห่งนี้ และขอฝากไว้กับพระภิกษุ สามเณร และพุทธบริษัททั้งหลาย ช่วยกันหาน้ำมันมาเติมใส่เข้าไว้เพื่อให้ตะเกียงดวงนี้มีแสงสว่าง และลุกโชติช่วงอยู่ตลอดไปคู่กับพระพุทธศาสนาหลวงพ่อเชยเคยอบรมสืบสวนพระภิกษุ สามเณร ในปกครองของท่านตลอดเวลาว่า เป็นพระเป็นเณรต้องหมั่นสวดมนต์ไหว้พระ เจริญเมตตาภาวนาศึกษาเล่าเรียน พระธรรมวินัยบาลี จะได้มากน้อยอย่างไร ก็ให้พยายามไปช่วยกันทำกิจของสงฆ์ภายในวัด ให้มีความสามัคคี แบ่งปันส่วนเฉลี่ยเจือจุนกันถ้าองค์ไหนขี้เกียจขี้คร้าน ก็หอบเสื่อหอบหมอนไปนอนที่อื่น อย่ามาอยู่ให้หนักวัดเขาหลวงพ่อเชยได้อบรมพระภิกษุสามเณรในปกครองของท่านอยู่ตลอดเวลา ก่อนทำวัตร สวดมนต์ เช้า - เย็น ท่านมีความเป็นห่วงภิกษุ สามเณร ในปกครองของท่านมากทีเดียว นี่เป็นความประสงค์อันแม้จริงของท่าน ที่อยากจะเห็นภิกษุ สามเณร ภายในวัดเสฐียรวัฒนดิษฐ์แห่งนี้ได้รับการศึกษาปรากฏเป็นหลักฐานอีกอย่างหนึ่งว่า หลวงพ่อเชยท่านมีความสามารถทางฝีมือช่างเป็นพิเศษ การก่อสร้างถาวรวัตถุหลายอย่าง หลวงพ่อเป็นผู้ออกแบบแกะสลักลวดลาย และทำงานก่อสร้างเองทั้งสิ้น แม้แต่การสร้างแม่พิมพ์พระ การแกะสลัก การปั้นรูปภาษี หลวงพ่อก็ออกแบบและทำเองด้วย ในโอกาสที่หลวงพ่อเชยได้พบปะแลกเปลี่ยนวิทยาคมกับหลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่านั้น เสด็จในกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ เสด็จมานมัสการหลวงปู่ศุขหลายครั้ง ทรงพบเห็นพระของหลวงพ่อเชยแล้ว ก็ทรงพระดำริว่าจะให้ช่างทางกรุงเทพฯ แกะแม่พิมพ์ถวาย ซึ่งเป็นแม่พิมพ์พระโคนสมอ กับแม่พิมพ์พระภควัมบดี บางพิมพ์ให้กับหลวงพ่อเชยหลวงพ่อเชยได้สร้างวัตถุมงคลประเภทพระเนื้อผงผสมว่าน เนื้อผงใบลาน และเหรียญเสมาพระภควัมบดี มีอยู่หลายชนิด หลายพิมพ์ทรง และมีแบบต่าง ๆ กัน ซึ่งหลวงพ่อสร้างไว้แจกแก่บรรดาญาติโยมและศิษยานุศิษย์ที่เคารพนับถือในตัวท่านปรากฏว่าพระของหลวงพ่อมีอยู่ประมาณ 75 พิมพ์ทรงในจำนวนนี้มีทั้วแบบพิมพ์ที่เสด็จในกรมถวายกับพิมพ์ที่หลวงพ่อเชยแกะเอง ส่วนการสร้างนั้น หลวงพ่อสร้างอยู่เรื่อย ๆ ครั้งละไม่มาก เมื่อสร้างเสร็จหลวงพ่อจะปลุกเสกองค์เดียว และแจกแก่ศิษย์ที่เสื่อมใส พระบางพิมพ์ของหลวงพ่อไม่สามารถจะรวบรวมมาได้ครบทั้ง 75 พิมพ์ จึงขอนำลงเฉพาะบางพิมพ์เท่าที่จะหาได้ เช่น1.    พระพิมพ์กำแพงทุ่งเศรษฐี2.    พระพิมพ์สิวลี3.    พระรอดทรงครุฑ4.    พระโคนสมอ5.    พระนาคปรก6.    พระสามพี่น้อง7.    ตะกรุด8.    พระหูยาน เนื้อว่านผสมผงใบสาน9.    พระสังกัจจายน์ เนื้อว่าน10.                       พระพิมพ์ปิดตา 2 หน้าและหน้าเดียว เนื้อผงใบสาน11.                       พระพิมพ์สมเด็จ เนื้อปูน12.                       พระพิมพ์เมืองสวรรค์ ด้านหน้าเป็นพระสมเด็จ ด้านหลังเป็นพระรอด13.                       พระปิดตาเนื้อผงใบลาน พิมพ์ใหญ่ - เล็ก หลังยันต์14.                       พระปิดตาพิมพ์พิเศษ สร้างด้วยเนื้อตะกั่ว15.                       พระพิมพ์ฤาษี สร้างทั้งหมด 3 ครั้ง ครั้งที่ 1 เนื้อดิน ครั้งที่ 2 เนื้อดิน ครั้งที่ 3 เนื้อผงใบลาน16.                       เหรียญรูปเสมารูปพระภควัมบดี หลวงพ่อสร้างเป็นรูปรุ่นสุดท้ายเมื่อปี พ . ศ . 2468 ก่อนหลวงพ่อมรณภาพ 1 ปี

ด้านหน้าของเหรียญเป็นรูปพระภควัมบดี สวยงามมากทีเดียว คือ มองดูแล้วสะกิดตาสะดุดหัวใจ เพราะเอกลักษณ์และรูปทรงมองแล้วซึ้ง เป็นเหรียญหนึ่งที่น่าสะสม เนื้อทองแดงกะไหล่ทองปั๊มห่วงหูในตัว ตรงกึ่งกลางเหรียญเป็นรูปพระปิดตานั่งสมาธิ ห่มจีวรลดไหล่ พระชงฆ์ทั้งสองข้างไขว้เห็นฝ่าเท้าทั้งสองข้างอย่างชัดเจน นั่งบนอาสนะกลีบบัวหงาย 5 กลีบ บัวคว่ำ 4 กลีบ ในระหว่างบัวคว่ำบัวหงายจะมีเส้นขีดทุกกลีบ จากปลายกลีบบัวที่ 1 ถึงกลีบบัวที่ 5 และมีลายกนกชิดขอบทั้งสองไปจนถึงแขนทั้งสองข้าง เรียกว่ากนกเปลว ภายในเส้นนูนเล็กๆ แบบปลายเส้น ตามขอบเหรียญจะมีเส้นขอบนูนถึง 2 ชั้น คล้ายลำตัวพญานาค ริมสุดของขอบเหรียญจะมีลายกนกน่องสิงห์ตามลำตัวพญานาค หันเศียรออกทั้งสองข้าง ล่างสุดจะมีลายประจำยาม หรือดอกจัน 3 กลีบ จะเห็นเพียงครึ่งเดียว ภายในดอกจันจะมีจุดไข่ปลา 7 จุด ไม่มีหนังสือขอมและหนังสือไทยจารึก ( นอกจากด้านหลัง ) นับเป็นลายหนึ่งที่ช่างได้บรรจงแกะแม่พิมพ์ด้วยความประณีตอ่อนไหวดี

สำหรับด้านหลังของเหรียญ ตรงกึ่งกลางเหรียญจะจารึกด้วยภาษาไทยตัวนูนว่า " ที่รฤกอาจารย์เชย ที่สร้างศาลาโรงธรรม พ.ศ. 2468 " ไม่มีเส้นขอบเหรียญ จะมองดูเรียบ ๆ ธรรมดา
เหรียญรุ่นนี้ มี 2 ชนิด คือ เหรียญหล่อ และเหรียญปั๊ม แต่การหล่อนั้นจะไม่สวยงามหรือชัดเจนนัก สู้เหรียญปั๊มไม่ได้ มีความสวยงามมากกว่ากัน นับว่าเป็นเหรียญรุ่นแรกที่มีราคาแพงมากเหรียญหนึ่ง และรู้สึกว่าจะยากยิ่งขณะนี้
สำหรับเหรียญรูปเหมือนของหลวงพ่อเป็นรูปไข่ เนื้อทองนั้น คณะกรรมการการวัดได้จัดสร้างขึ้น เพื่อให้เช่าบูชานำรายได้สร้างวิหารสำหรับประดิษฐานรุปหล่อเท่าองค์จริฃของหลวงพ่อ โดยคณะกรรมการได้รวบรวมทุนทรัพย์ส่วนตัวด้วยกันจัดสร้างไว้ เป็นเหรียญปั๊มเนื้อทองแดงขอบเหรียญมีจุดไข่ปลา ตรงกึ่งกลางเหรียญมีรูปหลวงพ่อห่มลดไหล่ ครึ่งองค์หน้าตรง มีจารึกภาษาไทยว่า ท่านอาจารย์เชย สำหรับด้านหลังนั้นมีทั้งตัวยันต์ที่เป็นภาษาขอม และภาษาไทย ยันต์เป็นยันต์พระเจ้า 5 องค์ นะ ดม พุท ธา ยะ และมีภาษาไทยจารึกเป็นตัวนูนว่า วัดเสฐียร วัตนดิษฐ์ ด้านบนสุดจะมีลายกนกเป็นลายเส้นเล็กน้อยพระและเหรียญดังได้กล่าวแล้วนับเป้นมรดกที่หลวงพ่อเชยท่านได้สร้างไว้ให้เราชาวสิงห์บุรีควรจะรักษา ถึงแม้ว่าหลวงพ่อจะสร้างพระไว้จำนวนไม่มากนักแต่เนื่องจากมีหลายพิมพ์ทรง เมื่อนำมารวบรวมกันเข้าก็จะเป็นจำนวนมากพอสมควร ปัจจุบันชาวบางพุทธาและนักนิยมสะสมพระเครื่องทั่วประเทศอยากได้เเละเกือบทุกครัวเรือนของชาวพุทธามักจะมีระของหลวงพ่อไว้สักการบูชาทุกคนหวงแหน เพราะถือว่า เมื่อสิ้นบุญของหลวงพ่อแล้ว สิ่งที่เหลืออยู่คือ มรดกชิ้นสุดท้ายคือ พระของหลวงพ่อ ที่ได้ปรากฏคุณพิเศษในด้านต่างๆ เป็นที่ประจักแก่เขามากมาย เขาเหล่านั้นจึงเลื่อมใสศรัทธานับถือหลวงพ่อสืบมาชั่วลูกชั่วหลาน และใครไปตั้งคำถามชาวบางพุทธาว่าพระอะไรดีที่สุด เขาจะตอบเป็นเสียงเดียวกันว่า " หลวงพ่อเชย " ดีที่สุด ( ทั้งปฏิปทา - จริยวัตร เคร่งครัดในธรรมวินัย )


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น