วันอังคารที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2559

หัวใจโลกธาตุคือชื่อยันต์อันศักดิ์สิทธิ์ อิทธิฤทธิ์เหลือล้นชนกล่าวขาน ช่วยกันภัยกันคุณไสยมิแผ้วพาล ทั่วเมืองกาญจน์ทุกคนรู้หลวงปู่ยิ้ม"

 "หัวใจโลกธาตุคือชื่อยันต์อันศักดิ์สิทธิ์ อิทธิฤทธิ์เหลือล้นชนกล่าวขาน ช่วยกันภัยกันคุณไสยมิแผ้วพาล ทั่วเมืองกาญจน์ทุกคนรู้หลวงปู่ยิ้ม"

 "หลวงพ่อเฒ่ายิ้ม" เป็นชื่อที่นิยมเรียกนามของท่านจนเป็นที่คุ้นเคยกันของ "หลวงปู่ยิ้ม" หรือ หลวงปู่ยิ้ม จนฺทโชติ วัดหนองบัว (วัดอุปลาราม) ต.หนองบัว อ.เมือง จ.กาญจนบุรี ท่านเป็นคนเมืองกาญจน์โดยกำเนิด เกิดที่ตำบล วังด้ง อ.เมือง จ.กาญจนบุรี  เมื่อ  พ.ศ. ๒๓๘๙  เป็นบุตรของนายยิ่ง นางเปี่ยม ในตระกูล ชูชันยะ หลวงปู่ยิ้ม ถือว่าเป็นอริยสงฆ์ องค์หนึ่ง ที่มีความรู้ความสามารถมาก และ เป็นผู้มั่นเรียนรู้ มั่นศึกษา จนจบวิชาอาคมหลายศาสตร์   หลายแขนงจากสำนักดัง ๆ  หลายแห่ง   หลวงปู่ท่านมีความปราดเปรื่อง  ด้านวิชาอาคมสูงยิ่ง ท่านได้คิดค้น วิชา คาถาอาคมขึ้นไว้หลายแขนงวิชาด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นด้านไสยศาสตร์  และวิชาแพทย์แผนโบราณ ซึ่งลูกศิษย์ของท่านมากมายได้รับการถ่ายทอดกันไป วัตถุมงคลของท่านทุกประเภทได้รับความนิยมทั้งหมด ส่วนที่ได้รับความนิยมที่สุด ก็คือ วัตถุมงคลประเภท พระปิดตา ซึ่งพระปิดตาพิมพ์ใหญ่ (นิยม) ของหลวงปู่ท่าน ยังได้รับการยอมรับ และยกย่องให้รวมอยู่ในชุดเบญจภาคี ๑ ใน ๕ ประเภทพระปิดตาเนื้อผง
  หัวใจโลกธาตุ(อินธินาทะยิ) ก็คือ คาถาวิชาหนึ่งที่หลวงปู่ยิ้มท่านได้คิดค้นขึ้น มีความขลังและศักดิ์สิทธิ์มาก ซึ่งท่านได้ลงกำกับไว้ในตะกรุดที่มีขนาดเล็ก ๆ ของท่าน เช่น ตะกรุดลูกอม และตะกรุดมะขามเรียง ๗ ใบ วิชาคาถาหัวใจโลกธาตุ นั้นเป็นวิชาที่ศึกษาได้ค่อนข้างยากมาก ลูกศิษย์ลูกหาของหลวงปู่นั้นน้อยท่านนักที่เรียนจบวิชานี้ เล่ากันว่าลูกศิษย์ของท่านที่เรียนวิชาคาถาหัวใจโลกธาตุนี้จบครบสูตรแน่ ๆ เลย  และเป็นที่ยอมรับกันทั่วไปก็คือ พระราชมงคลวุฒาจารย์  (หลวงปู่ใจ อินฺทสุวณฺโน) วัดเสด็จ อัมพวา จ.สมุทรสาคร ซึ่งต่อมาท่านก็ได้สร้างตะกรุดลูกอม เช่นเดียวกันกับหลวงปู่ยิ้มอาจารย์ของท่านจนเป็นที่ยอมรับ และได้รับความนิยมสูงมากในปัจจุบัน       
      
            หลวงปู่ยิ้มและหลวงปู่ใจ ทั้งสองท่านถือว่าเป็นผู้มีความรู้ ความสามารถมากทั้งคู่ ท่านทั้งสองถึงจะเป็นศิษย์อาจารย์กัน วัตถุมงคลที่ทั้งสองท่านได้สร้างไว้นั้นก็มีจำนวนมากมาย ไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากันเลย แต่วันนี้ผู้เขียนอยากพูดถึง ตะกรุดคาถาหัวใจโลกธาตุ ที่ทั้งอาจารย์และลูกศิษย์ ทั้งสองท่านนี้ได้สร้างกันเอาไว้ว่ามีส่วนที่เหมือนกัน และแตกต่างกันอย่างไร 
          ต้นตำรับตะกรุดลูกอมที่ลงคาถาหัวใจโลกธาตุ  โดยหลวงปู่ยิ้ม  นั้น  เท่าที่พบทั่วไปมีด้วยกัน ๓ เนื้อ คือ เนื้อทองคำ เนื้อเงิน เนื้อทองแดง และ ที่ทำมาจากกระดาษสา  วิธีการสร้าง เป็นวิธีแบบโบราณ คือ นำเอาโลหะที่จะนำมาสร้างทำตะกรุดนั้น มาทุบ ตีแผ่ แล้วทำการรีดให้เรียบเท่าที่ทำได้ จากนั้นนำมาวัดกะระยะ กว้างประมาณ ๑ ซม. แล้วตัดด้วยกรรไกร ส่วนความยาวของแผ่นโลหะ  ผู้เขียนไม่ทราบจริง ๆ ว่ายาวเท่าใดกันแน่ แต่นับจากวงรอบของตะกรุดที่ม้วนเสร็จแล้วนั้น  นับได้เท่าที่เคยพบเจอ คือ ๖-๘ รอบ เท่านั้น ความยาวของตะกรุด น่าจะขึ้นอยู่กับความยาวของคาถาที่เขียนลงในแผ่นโลหะนั้น ๆ  และที่ดูว่าวงรอบของตะกรุดม้วนน้อยลง  ก็คงเป็นเพราะการคลายตัวของตะกรุดที่นำมาร้อยใช้ และทำให้รูของตะกรุดกว้างขึ้นด้วย 
 ส่วนตะกรุดขนาดเล็กที่ลงคาถาหัวใจโลกธาตุอีกชนิดหนึ่ง  เรียกกันว่า  ตะกรุดมะขามเรียง ๗ ใบ หมายถึง ตะกรุดขนาดเล็ก กว้างประมาณ ๑ ซม. และยาว เท่ากับ ใบมะขามมาวางเรียงต่อกันได้ ๗ ใบ พอดี ซึ่งเป็นตะกรุดยุคต้น ๆ ของหลวงปู่ยิ้มท่าน ซึ่งได้สร้างเอาไว้ไม่มากนัก มีทั้งแบบเปลือย และที่นำมาถักเชือก ลงรักไว้ก็มี ปัจจุบัน ถือว่าเป็นตะกรุดที่หาชมได้ยากยิ่ง
 ตะกรุดลูกอมที่สร้างจากเนื้อกระดาษสานั้น  ใช้วิธีเขียนคาถาลงในกระดาษสา    แล้วม้วนเป็นวง เหมือนเช่นตะกรุดลูกอม ส่วนใหญ่หลวงปู่ยิ้ม ท่านจะใช้ด้ายสายสิญจน์ พันม้วนรอบกระดาษสาเป็นลูกกลม หลายๆ ชั้น จนมีลักษณะเป็นลูกกลม ซึ่งต่อมาได้เรียกกันว่า ลูกอมสายสิญจน์
            สำหรับตะกรุดลูกอมลงคาถาหัวใจโลกธาตุ ที่สร้างโดย หลวงปู่ใจ วัดเสด็จ ศิษย์เอกองค์หนึ่งของ หลวงปู่ยิ้มนั้น  หลวงปู่ใจท่านก็ถือว่าเป็นพระอริยสงฆ์อีกองค์หนึ่ง ที่มีความรู้ความสามารถมากมาย และเป็นพระที่มีจริยวัฒน์ ปฏิบัติธรรมดีเยี่ยม อีกองค์หนึ่ง วัตถุมงคลที่ท่านได้ปลุกเสก เชื่อกันว่า มีความศักดิ์สิทธิ์ ไม่ได้ยิ่งหย่อนไปกว่าอาจารย์ใด ๆ เลย มีเรื่องเล่ากันว่า การที่จะได้ศึกษาวิชาหัวใจโลกธาตุนั้น ขั้นแรก ผู้ที่จะเรียนวิชาจะต้องนั่งวิปัสสนากรรมฐาน  เพ่งกสิณจนไส้เทียนขาด  ด้วยพลังจิต ถึงจะได้เรียนวิชาคาถาหัวใจโลกธาตุ จาก หลวงปู่ยิ้ม สมัยนั้นมีผู้มาศึกษาด้วยกันหลายท่าน แต่มีผู้ผ่านการทดสอบเพียงท่านเดียว คือ หลวงปู่ใจ วัดเสด็จ แต่ภายหลังจากนั้นผู้เขียนไม่แน่ใจเหมือนกันว่ามีผู้ใด ทดสอบผ่านอีกหรือเปล่า

           ตะกรุดลูกอมหัวใจโลกธาตุ ของ หลวงปู่ใจ วัดเสด็จนี้ สร้างด้วยกัน ๓ เนื้อ คือ เนื้อทองคำ  เนื้อนาก  และเนื้อเงิน  ปัจจุบันได้รับความนิยมค่อนข้างสูงมาก วิธีการสร้างตะกรุดลูกอมของหลวงปู่ใจนั้น ต่างจากอาจารย์ของท่านโดยสิ้นเชิง คือ หลวงปู่ใจ จะสร้างค่อนข้างทันสมัยกว่ามาก คือ ใช้เครื่องเป็นตัวประกอบในการสร้าง แทบทุกขั้นตอน ไม่ว่าจะเป็นการตัดแผ่นโลหะ การรีดแผ่นโลหะ แม้แต่การม้วนตะกรุดก็ใช้เครื่องทั้งสิ้น คงเหลือเฉพาะการลงอักขระคาถา และปลุกเสกเท่านั้นที่หลวงปู่ใจต้องทำเอง
 ข้อแตกต่างที่เห็นได้เจน ระหว่างตะกรุดลูกอมของหลวงปู่ยิ้ม กับ ตะกรุดลูกอมของหลวงปู่ใจ (ดูรูปประกอบจะเข้าใจง่ายขึ้น)
 ๑.- ตะกรุดหลวงปู่ยิ้ม เป็นตะกรุดทุบ แผ่นโลหะ หนา บาง นั้นไม่เท่ากัน ม้วนแล้วนับได้ ๖-๙ รอบ ส่วนตะกรุดหลวงปู่ใจ เป็นตะกรุดรีดแผ่นโลหะจากเครื่อง  หนา บาง จะเท่ากัน ม้วนแล้วนับได้ ๑๐-๑๓ รอบ

           ๒.-ตะกรุดหลวงปู่ยิ้ม ม้วนแบบธรรมดาด้วยมือ(Hand Made) ไม่แน่น ดูไม่เรียบร้อย ปลายตะกรุด ตัดโดยกรรไกร หรือมีด  มีมุมตามช่างที่ตัดไม่แน่นอน ส่วนตะกรุดหลวงปู่ใจ ม้วนด้วยเครื่อง ดูเรียบร้อย แน่นสนิท ปลายตะกรุดโดนเครื่องตัด ฉีกขาด แบบไม่มีมุม
 ๓.ขอบของแผ่นตะกรุดหลวงปู่ยิ้ม ตัดด้วยกรรไกร ขอบจะมีลักษณะเป็นเหลี่ยม หรือเป็นฉาก พื้นผิวตะกรุดรอบนอกไม่มีเส้นวิ่ง ส่วนขอบของแผ่นตะกรุดหลวงปู่ใจ ตัดด้วยเครื่อง มีลักษณะมน โค้ง ดูเรียบร้อย ไม่คม บางรอบอาจมีรอยปริแตกบ้าง (อาจเป็นเพราะแรงกดของเครื่อง) พื้นผิวตะกรุดรอบนอกมีเส้นวิ่งมากมายเป็นแนวรอบ (คงเกิดจากแรงเหวี่ยงของเครื่องขณะม้วนตะกรุด)
            เห็นได้ว่า การสร้างตะกรุดลูกอม ลงคาถาหัวใจโลกธาตุของหลวงปู่ยิ้ม วัดหนองบัว กับ หลวงปู่ใจ วัดเสด็จนั้น อาจารย์กับศิษย์ ถึงการสร้างจะเป็นตะกรุดลูกอมเหมือนกัน แต่วิธีการสร้าง ลูกศิษย์ ย่อมจะต่างจากอาจารย์เสมอ  ดังคำโบราณที่ว่า "ลูกศิษย์ต้องเดินตามรอยตามอาจารย์ แต่ห้ามเดินทับรอยอาจารย์"
 
เมื่อบวชแล้วท่านได้เรียนหนังสือขอม บาลี มงคลทีปนี มูลกัจจายน์ พระเจ้า 10 ชาติ สูตรสนธิ จนชำนาญ อีกทั้งยังสามารถท่องปาฏิโมกข์ได้ตั้งแต่พรรษาที่ 2 ด้วยตัวท่านชอบเกี่ยวกับวิชาความรู้และวิทยาคมจึงได้รับคำแนะนำจากอาจารย์แดงพระคู่สวดว่า ที่จังหวัดสมุทรสงคราม มีพระเกจิอาจารย์เก่งๆ อยู่หลายรูป ท่านได้เดินทางไปหาอาจารย์รูปแรกคือ หลวงพ่อพระปลัดทิม วัดบางลี่น้อย อ.อัมพวา ท่านเป็นอุปัชฌาย์เก่าแก่ของวัดบางช้าง เรียนทางทำน้ำมนต์โภคทรัพย์ อยู่ปากอ่าวแม่กลองได้เรียนวิชาทำธงกันอสุนีบาต (สายฟ้า) และพายุคลื่นลม วิชาหลายลงอักขระทำรูปวงกลม เวลาไปทะเลแล้วขาดน้ำจืดให้เอาหวายโยนลงไปในทะเลแล้วตักน้ำในวงหวายน้ำจะจืดทันที ลูกอมหมากทุยก็เป็นที่เลื่องลือ เพราะท่านได้สำเร็จจินดามนต์ เรียกปลาเรียกเนื้อได้

อีกรูปคือ หลวงพ่อกลัด วัดบางพรม เรียนทางมหาอุตม์ ผ้าเช็ดหน้าทางมหานิยม เชือกคาดเอว เครื่องรางรูปกระดูกงูกันเขี้ยวงา ทางคงกระพันชาตรี หลวงพ่อกลัดรูปนี้สามารถย่นระยะทางได้ และรูปสุดท้ายคือ หลวงพ่อแจ้งวัดประดู่อัมพวา ได้เรียนทางแพทย์แผนโบราณ มีดหมอ ทางมหาประสานเชือกคาดชื่อตะขาบไฟ หรือ ไส้หนุมาน

"
หลวงปู่ยิ้ม" เป็นพระที่ชอบทางรุกขมูลธุดงควัตรออกพรรษา แล้วท่านมักจะเข้าป่าลึกเพื่อหาที่สงบทำสมาธิท่านรู้ภาษาสัตว์ทุกชนิด ชื่อเสียงกิตติศัพท์ของท่านโด่งดังไปทั่วเจ้านายและข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ในกรุงเทพฯ อาทิ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ซึ่งโปรดทางวิชาไสยศาสตร์ ได้ไปหาท่านถึง 2 ครั้ง เลื่อมใสและนับถือท่านเป็นอาจารย์ ขอเรียนวิชาจากท่านได้มีดหมอจากท่าน 1 เล่ม ไว้ประจำพระองค์ มีดหมอมีสรรพคุณปราบภูตผีปีศาจ และปราบคนที่อยู่ยงคงกระพัน ถ้าได้ถูกคมมีดของท่านแล้วต้องเป็นอันได้เลือด ไม่ว่าคนนั้นจะเก่งเพียงไร ก็ไม่สามารถคุ้มครองได้

เสด็จในกรมฯ ทรงโปรดเป็นอันมาก ทั้งๆ ที่ว่าท่านเป็นศิษย์หลวงปู่ศุข วัดมะขามเฒ่า จ.ชัยนาท มาแล้ว ก็ยังเกรงวิชาของหลวงปู่ยิ้ม หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า ท่านเคยธุดงค์มาจำวัดกับหลวงปู่ยิ้ม ที่วัดหนองบัว และได้แลกเปลี่ยนวิชากัน

หลวงปู่ยิ้มท่านเป็นพระสมถะไม่หลงวิชาอาคม จำนวนศิษย์ของท่านเท่าที่ปรากฏ คือ

1.
พระโสภณสมจารย์ (เหรียญ) วัดอุปลาราม (วัดหนองบัว)

2.
พระเทพมงคลรังษี (ดี) วัดเทวสังฆาราม (วัดเหนือ)

3.
พรกาญจนวัตรวิบูลย์ (ล่อน) วัดลาดหญ้า

4.
พระโสภณสมณกิจ (หัง) วัดเหนือ

5.
พระครูวัตตสารโสภณ (ดอกไม้) วัดดอนเจดีย์

6.
พระราชมงคลวุฒาจารย์ (ใจ) วัดเสด็จ

7.
พระอธิการ (แช่ม) วัดจุฬามณีอัมพวา)

8.
พระครูสกลวิสุทธิ (เหมือน รัตนสุวรรณ)

วัตถุมงคลของท่านตลอดจนเครื่องรางของขลังต่างเป็นที่ต้องการของบรรดาลูกศิษย์ อาทิ พระปิดตา พิมพ์ใหญ่ (อ่าวจุฬา) พิมพ์สังกัจจายน์ใหญ่ พิมพ์สังกัจจายน์เล็ก, พิมพ์แข้งซ้อนใหญ่, พิมพ์แข้งซ้อน, พิมพ์เข่าบ่วง, พิมพ์เข่าบ่วงใหญ่, พิมพ์ขัดเพชร เป็นต้น
รูปแหวนพิรอดของท่านสังเกตุจะมีหัวยอด และรักแดงครับ

ในบรรดาแหวนพิรอดจากหลายๆสำนัก แหวนพิรอดหลวงปู่ยิ้ม นับเป็นหนึ่งในแหวนพิรอดยอดนิยมที่จัดอยู่ในอันดับต้นๆเช่นกัน เคยได้กล่าวไว้แล้วว่า เครื่องรางไม่มีรูปแบบที่ตายตัว แต่จะต้องมีเอกลักษณ์ที่สังเกตได้ ดังนั้นการที่จะได้ข้อยุติในเครื่องรางแต่ละชิ้น แต่ละสำนัก ล้วนแต่จำเป็นต้องใช้ประสบการณ์ที่มีอยู่ เคยต้องเห็นหรือสัมผัสมามาก บางครั้งจำเป็นต้องถาม เพราะความรู้ต่างๆที่ถ่ายทอดกันมาจากรุ่นต่อรุ่น อาจขาดตอนหายไปบ้าง
แหวนพิรอดหลวงปู่ยิ้มถักจากผ้ายันต์ โดยการนำผ้ายันต์มาม้วนเป็นเส้นแล้วจุ่มหรือทาด้วยน้ำข้าว เพื่อให้ผ้ายันต์ที่ม้วนตัวเป็นเส้นอยู่ไม่ฟูขึ้นมา ทำให้แน่นขึ้นสะดวกในการถัก ก่อนถักจะมีการนำด้ายสายสินญ์มามัดทับผ้ายันต์ไว้ให้สวยงาม จึงเริ่มลงมือถักเป็นแหวนพิรอดขึ้นมา เสร็จแล้วนำไปลงรักน้ำเกลี้ยงอีกครั้ง เพื่อให้แหวนพิรอดมีความแข็งแรงขึ้น และเป็นการรักษาผิวของด้ายสายสินญ์และผ้ายันต์ไว้
การพิจารณาแหวนพิรอดหลวงปู่ยิ้ม โดยทั่วไปไม่ว่าจะเป็นลักษณะการถัก สีสันของแหวน ตลอดจนรักน้ำเกลี้ยง จะแตกต่างไปจากแหวนของสำนักอื่นมาก โดยเฉพาะสีสันของแหวนจะออกไปทางน้ำตาลอมแดงเสียมากกว่าจะเป็นดำ ลักษณะของรักน้ำเกลี้ยงจะซึมเป็นเนื้อเดียวกันกับตัวแหวน ตามซอกอาจมีขุยให้สังเกตได้
เชือกคาด หรือไส้หนุมาณ


ท่านได้สร้างวัตถุมงคล ทั้งพระเครื่องและเครื่องราง ซึ่งส่วนใหญ่ได้รับความนิยมจากผู้ที่เลื่อมใส วัตถุมงคลเหล่านี้ได้กระจัดกระจายอยู่กับบุคคลต่างๆ ทั้งในท้องที่และต่างถิ่น จนอาจเป็นการยากที่จะรวบรวมได้ทั้งหมด พูดถึงพระเครื่องของหลวงปู่ยิ้มที่โด่งดังมากๆเห็นจะได้แก่พระปิดตาเนื้อผงที่ทุกคนคงรู้จักกันดี และยังมีพระปิดตาที่ทำด้วยเนื้อตะกั่วอีก ส่วนเครื่องรางก็มี เสือแกะจากไม้รัก ลูกอม ตะกรุด ผ้ายันต์ และแหวนพิรอด

หลวงปู่ยิ้มมรณภาพ เมื่ออายุ 66 ปี เมื่อพ.ศ.2453

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น