วันเสาร์ที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2558

ประวัติหลวงพ่อสาคร วัดหนองกรับ จ.ระยอง

ประวัติหลวงพ่อสาคร วัดหนองกรับ จ.ระยอง 

หลวงพ่อสาคร วัดหนองกรับ อ.บ้านค่าย จ.ระยอง ศิษย์เอกของ "หลวงปู่ทิม อิสริโก" อดีตเกจิอาจารย์ ชื่อดังแห่งวัดระหารไร่ จ.ระยอง ต้นตำรับ "ขุนแผนผงพรายกุมาร" อันลือลั่นสนั่นวงการ พระเครื่อง ได้เมตตาให้สัมภาษณ์พิเศษ ทีมข่าวพระเครื่อง "คม ชัด ลึก" เกี่ยวกับการ สืบทอด วิชาคาถาอาคมต่างๆ จากหลวงปู่ทิม ตลอดจนการสร้างศาสนวัตถุ โดยเฉพาะ "พิพิธภัณฑ์ยันต์" แห่งแรก และแห่งเดียว ในเมืองไทย เชิญติดตามอ่าน กันได้โดยพลัน...
ไม่ทราบว่า หลวงพ่อไปร่ำเรียนวิชากับ "หลวงปู่ทิม วัดระหารไร่"
ได้อย่างไรครับ?
อาตมาเป็นคนที่นี่ (บ้านหนองกรับ อ.บ้านค่าย อยู่ห่างจากวัดระหารไร่ประมาณ 10 กิโลเมตร) ไปหาท่านครั้งแรก ตอนนั้นอาตมาอายุประมาณ 15 ปี เรียนอยู่ชั้นมัธยม ก็เข้าไปอยู่ที่วัดระหารไร่ ไปกินนอนที่วัดเลย ไปรับใช้หลวงปู่ทิม โดยได้ขออนุญาตจากทางบ้านแล้ว
ตอนนั้น หลวงพ่อรู้ได้อย่างไรว่าหลวงปู่ทิมมีวิชาคาถาอาคมแก่กล้า
เพราะหลวงปู่ทิมก็เพิ่งมีชื่อเสียงในช่วงที่ชราภาพมากแล้ว ซึ่งตอนที่ หลวงพ่อได้เจอท่าน ตอนนั้น หลวงปู่ทิมก็ยังไม่แก่เท่าไหร่ ใช่มั้ยครับ
อาตมาก็ดูจากที่ท่านปฏิบัติ อาตมาดู และเห็น เรื่องอย่างนี้ มันขึ้นอยู่กับสัญชาตญาณ ของแต่ละคน
เมื่อตอนที่หลวงพ่อได้พบกับ "หลวงปู่ทิม" ครั้งแรก ตอนนั้นหลวงพ่อ รู้สึกอย่างไรบ้างครับ?
ท่านปฏิบัติดี อาตมาเห็นแล้วก็เกิดความเลื่อมใสศรัทธา มีความรู้สึกว่าหลวงปู่ทิม ไม่ใช่พระธรรมดา จึงได้ฝากเนื้อฝากตัวเป็นศิษย์ท่าน โดยโยมพ่อกับโยมแม่ได้ ถวายอาตมาให้เป็น "บุตรบุญธรรม" ของหลวงปู่ทิม จากนั้น จะขออะไร จะเรียนอะไร ก็จะได้ทั้งหมด เพราะปกติท่านจะไม่ค่อยถ่ายทอดวิชาให้กับใคร
ทำไม "หลวงปู่ทิม" จึงไม่ค่อยยอมถ่ายทอดวิชาให้ใครง่ายๆ ล่ะครับ
ท่านกลัวว่าเมื่อถ่ายทอดวิชาให้คนที่เรียนไปแล้ว กลัวไม่เอาไปใช้จริง
สมัยนั้น คงจะมีผู้คนมาขอเรียนวิชากับหลวงปู่ทิมเยอะสิครับ
ก็เยอะ แต่หลวงปู่ท่านจะดูลักษณะคนด้วยว่า ใครจริงจังจะศึกษา
คาถาอาคมก่อนเป็นอันดับแรก เพราะถ้าเรียนไปแล้วไม่เอาจริงไม่มีความสนใจ และไม่เอาไปใช้ มันทำให้เสียเวลาในการแนะนำหรือสอน ท่านก็จะหมดกำลังใจ คือ การที่ท่านจะท่องจำนั้นไม่ไหวแล้ว
หรือบางครั้งเรียนไปแล้วไม่เอาไปใช้ ก็ทำให้เสื่อมเสียชื่อเสียงกับอาจารย์ผู้สอนไปด้วย ดังนั้น ท่านจะดูคน ถ้าคนไหนจะเอาจริงๆ ก็ต้องมีความเพียรจริงๆ
นานมั้ยครับหลวงพ่อ กว่าที่หลวงปู่ทิมจะยอมถ่ายทอดวิชาให้หลวงพ่อ?
ไม่นาน เพราะว่า ท่านดูจากลักษณะว่า มีแววเอาจริง
มีแววอย่างไรครับ?
ท่านคงเห็นว่าอาตมาเอาจริง และมุ่งมั่น โดยให้อาตมาไปเขียนผ้ายันต์มา 1 บททุกวัน และก็บอกว่าให้ไปท่องจำ โดยจะต้องจำให้ได้
พอท่องจำได้แล้วก็มาท่องให้ท่านฟัง
จากนั้น ทำอย่างไรต่อครับ?
เมื่อเขียนบทที่ 1 เสร็จเรียบร้อยแล้ว ก็ได้เริ่มเขียนบทที่ 2 พอเขียนเสร็จแล้วก็มาทบทวนท่องให้ท่านฟังอีก ท่องจนกว่าจะจำได้ ท่านก็จะให้ท่องจำทุกบท ทำอยู่อย่างนี้ประมาณ 4-5 ปี
หลวงพ่อทำแบบนี้อยู่กี่ปีครับ
จำไม่ค่อยได้ แต่รู้ว่านานหลายปีเลยทีเดียว ซึ่งตรงนี้ทำให้อาตมาจำคาถาได้เยอะ และทำให้อาตมาจำได้ดี แต่คาถามีอยู่เยอะมาก ก็จำได้ไม่ได้ทั้งหมดหรอก มันมากมายกว่าที่เราจะจำได้ จึงได้มีการซิกแซก อาจารย์เลยท้าพูดกันง่ายๆ เลย
ทำอย่างไรครับหลวงพ่อ
พออาจารย์เผลอเราก็แอบเอาตำราเข้าห้องเลย เพราะเรารู้ว่า
ตำราเล่มไหนเราเขียนไปแล้ว เราก็จะไม่ เขียนซ้ำ จะเอาหยิบไปวางไว้เอง ท่านไม่รู้หรอก เราก็เขียน เล่มต่อไปอีก พออาจารย์เผลอ
เราก็เอาไปไว้ที่เดิม แล้วเอาเล่มใหม่ มาเขียนต่ออีก แต่สิ่งที่เราเรียน และท่องจำ มาทั้งหมดนั้น เราเข้าใจทุกอย่างแล้ว พออาจารย์รู้ ท่านก็ถามว่าเอาตำราไปใช่ไหม เนื่องจากแกสังเกตจากกองที่ตั้งหนังสือ มันไม่เรียงกัน เราก็ยอมรับว่าใช่ แต่ก็ได้บอกท่านว่า ตำราที่เรียนกับอาจารย์ ด้วยวิธีการท่องจำอย่างเดียวคงไม่ไหว เพราะมีมากมายเหลือเกิน จึงต้องลอก จากอาจารย์เก็บไว้ ท่านก็ไม่โกรธ เพราะว่าท่านเข้าใจว่าเราเอาไปก็ต้องได้ใช้ ในที่สุด ท่านก็บอกว่า ท่านก็เรียนมาแบบนี้เหมือนกัน (หัวเราะ) ถ้าอย่างนั้น เราก็ตีจบไปเลยว่า เราไม่ผิด (หัวเราะ)
แล้วหลวงปู่ทิม ท่านไปเล่าเรียนวิชามาจากที่ไหนครับ?
หลวงปู่สิม วัดบ้านซ่อง อำเภอวันทอง จังหวัดชลบุรี
ที่เป็นศิษย์สายเดียวกับหลวงปู่ทิมก็มี หลวงพ่อโด่ วัดนามะตูม
และหลวงปู่ม่น วัดเนินตาหมาก
หลวงปู่ทิมเคยพูดถึงเรื่องอภินิหาร และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ ให้หลวงพ่อฟัง บ้างมั้ยครับ
อันนี้ ท่านไม่เคยพูดให้ฟังเลย
แล้วหลวงพ่อไม่ถามหลวงปู่ทิมบ้างเลยหรือครับ ว่าวิชาคาถาอาคมต่างๆ ที่เรียนมานี้ มีความศักดิ์สิทธิ์ หรือไม่ อย่างไร?
อาตมาก็ถามเหมือนกัน แต่ท่านไม่บอก ท่านบอกว่าก็ทำไปแล้วจะรู้เอง ขอให้ฝึกจิตใจของตัวเองไปให้สงบ เดี๋ยวก็รู้เอง คนอื่นจะรู้ด้วยไม่ได้ นอกจากตัวเอง
แล้วหลวงพ่อเคยเห็น "อภินิหาร" ของหลวงปู่ทิมบ้างไหมครับ?
ไม่เคยมีนะ เห็นท่านเป็นพระธรรมดาๆ รูปหนึ่งเท่านั้น และท่านก็เป็นพระเงียบๆ แต่ก็พอคุยได้เหมือนกัน จริงๆ จะว่าไม่มีในเรื่องอภินิหารเลยก็ไม่ใช่นะ ก็มีเหมือนกัน
มีอภินิหารอย่างไรครับหลวงพ่อ?
ตอนนั้นเป็นเวลากลางวัน ประมาณบ่ายโมง แกเอาผ้าพาดบ่าไปสรงน้ำ สมัยก่อนวัดระหารไร่จะมีบึง และเป็นป่าเยอะ ไม่เหมือนปัจจุบัน
แกก็ไปนั่งอยู่ใต้ต้นไม้ เราก็จะเข้าไปคุยด้วย เพราะเห็นว่าท่านนั่งตากลมอยู่คนเดียว จากนั้นก็ได้นั่งคุยกันไปคุยกันมาตามอัธยาศัย
คุยกันเป็นชั่วโมงเหมือนกัน แล้วแกก็หยุดคุย จากนั้น แกก็เอามือแหย่ลงไปในน้ำแล้วก็ดีด 2-3 ครั้ง ครู่เดียวปลาก็วิ่งมาเป็นฝูงเลย
ปลาวิ่งมาหาหลวงปู่ทิมเป็นฝูงเลยเหรอครับ
ปลาหลายชนิดได้ว่ายมาหาแกนั่นแหละ อาตมาไม่ว่าอะไร ก็นั่งดูเฉยๆ ท่านก็ดีดอีก ปลาก็วิ่งเข้ามาอีกเป็นจำนวนมาก ด้านหน้าที่มีแต่ปลาทั้งนั้น ท่านก็ไม่ว่าอะไรเฉยอย่างเดียว เสร็จแล้วสักพักก็ขึ้นไปบนศาลา อาตมาก็ไม่ได้ถามอะไรท่านในตอนนั้น หลังจากนั้นประมาณ 2-3 อาทิตย์ อาตมาจึงได้เข้าไปนั่งพูดคุย กับท่านด้านนอกกุฏิ ระหว่างคุยไปคุยมา พอได้จังหวะดี เห็นแกอารมณ์ดี ยิ้มแย้มแจ่มใส จึงได้ถามท่านว่า "หลวงพ่อวันที่ฉันได้นั่งคุยกับหลวงพ่อ อยู่ริมบึงวันนั้น เพราะเหตุใดปลาถึงวิ่งมาหาได้?" ท่านก็บอกว่า "มันมาดูเรามั้ง" ท่านก็ว่าอย่างนั้น (หัวเราะ) อาตมาก็ถามท่านต่อว่า
ผมก็เดินมาหลายครั้ง แต่ไม่เห็นปลามันวิ่งมาดูเลย ผมว่าหลวงพ่อต้องมีอะไรสักอย่าง เมื่อคุยไปคุยมาท่าน ก็ว่าไม่มีอะไรหรอก แต่เราก็ตื้ออยู่นาน เมื่อถามไปถามมา ก็บอกว่ามี
มีอะไรครับ
ก็มีคาถา เป็นคาถาเรียกงูเรียกปลา จากนั้นก็คุยเรื่องอื่นต่อไป เพราะรู้แล้วว่ามีแน่ จากนั้น พออาตมาบวชมาได้ 2-3 พรรษา ก็ได้ขอวิชานี้กับท่าน ขอนับสิบครั้งเห็นจะได้ แต่ก็ไม่ให้
ทำไมหลวงปู่ทิมจึงไม่ยอมถ่ายทอดวิชานี้ให้หลวงพ่อล่ะครับ?
เพราะว่าคงหวงวิชา แต่ที่ขอแล้วก็เฉย ถ้าแกตอบว่า อย่าเอาเลย
เราก็คงไม่ตอแยแน่ จนในที่สุด เมื่อแกใกล้จะมรณภาพ แกถึงบอกว่า วิชานี้อย่าเอาเลย ขอให้ติดตัวแกไป เพราะอะไรครับหลวงพ่อ
ถ้าคนเอาไปใช้ไม่มีสัจจะ ก็จะอันตรายมาก เพราะวิชานี้ไม่ได้ใช้เรียกปลาเท่านั้น สัตว์ทุกชนิด ถ้าตั้งใจจะเอา ก็จะได้ทุกอย่าง แม้แต่คนก็สามารถเรียกมาได้ ถือเป็นคาถาที่อันตราย เพราะถ้านำใช้ไปในทางไม่ดี ก็อันตรายมาก สาเหตุนี้ ท่านจึงไม่ยอมให้ใครเลย แกบอกว่าอย่าเอาเลย แต่อย่างอื่นแกให้ทุกอย่าง จริงๆ เราเสียดายก็เสียดาย แต่แกบอกอย่าเอาเลย พอตกกลางคืนก็เอาอีกนะ ถามแกว่า ไอ้วิชาที่ว่านี้มันเป็นอย่างไร ผมอยากรู้วิชาที่ดีมันว่าอย่างไร ถึงผมได้ ผมก็ไม่เอาไปใช้หรอก และจะไม่ให้ใครด้วย แกก็บอกว่า คนเราเอาแน่นอนที่ไหนได้ อนิจจังของคนไม่แน่นอน ในยามถูกใจก็ดี ในยามไม่ถูกใจก็ดี
แสดงว่าหลวงปู่ทิมกลัวจะมีคนนำคาถานี้ไปใช้ในทางไม่ชอบ?
ใช่ อาจมีการนำไปใช้อย่างไม่ถูกไม่ต้อง ความมุ่งหมายของแกรู้
ฉันก็แทงใจแกถูก (หัวเราะ) ถ้าให้ฉันแล้วเรื่องของเรื่อง คือ แกกลัวฉันจะสึก และมันมีเขียนไว้ในสมุดข่อย แกก็ทำลายทิ้งไป แต่เราเห็น ก็หยิบเอามาต่อกัน ผิดบ้าง ถูกบ้างแต่ก็อ่านไม่รู้เรื่อง แต่ฉันสันนิษฐานว่า คาถานี้ ไม่น่าจะเกิน 5 คำ
แล้วพระ "ขุนแผนผงพรายกุมาร" ล่ะครับ หลวงปู่ทิมท่านทำอย่างไรครับ?
ขุนแผนนี้ท่านได้มาสร้างเมื่อปี พ.ศ. 2517 ช่วงก่อนที่แกจะมรณภาพไม่กี่ปี ที่ทำก็เพราะมีไวยาวัจกรของวัด แกก็คิดว่าจะทำขุนแผน จึงไปปรึกษากับหลวงปู่จะทำอย่างไรดี แกก็ไม่บอก กลุ่มพวกนี้ก็หัวใสอยู่แล้ว ก็ไปเอาแบบที่จะสร้างขุนแผนมาให้ท่านดูว่าควรสร้างแบบไหนดี แบบนี้ได้ไหม แบบนั้นได้ไหม ในที่สุดก็จึงได้สร้างขุนแผนขึ้นมา เพื่อจะได้นำเงินมาก่อสร้างบำรุงวัด เนื่องจาก
เมื่อก่อนบริเวณวัดแห่งนี้เป็นป่าทั้งนั้น
หลวงปู่ทิมเป็นคนบอกให้ใช้ "ผงพรายกุมาร" มาทำใช่มั้ยครับ
ไม่ใช่ แต่มาจากลูกศิษย์ อันนี้ ก็ได้ปรึกษาหารือกันแล้ว ว่าจะทำอย่างนี้ อย่างนี้นะ แล้วก็นำไปปรึกษาหารือกับหลวงปู่ทิม ว่าจะทำได้ไหม แกก็บอกว่าได้ ถ้ามีความสามารถทำมาได้ แกก็ทำให้ได้ พวกลูกศิษย์ก็จึงไปจัดหากันมา เพราะคนตายสมัยนั้นเขาจะเอาฝังดิน ไม่เหมือนสมัยนี้ที่ไม่มีการฝังแล้ว โยมปูน สัปเหร่อของวัดในสมัยนั้นก็เป็นคนไปเอาผงพรายกุมารมา ก็จะเป็น "ลิ้น" กับ "เส้นผม" ของเด็กที่อยู่ในท้องแม่ที่ตายท้องกลม
แต่ไม่ได้เอาหัวกะโหลกอะไร
ลูกศิษย์เป็นคนจัดการเองทั้งหมดเลยใช่ไหมครับ?
ลูกศิษย์จัดการเอง โดยท่านไม่ได้บอก พวกนั้นได้ไปขุดหากันมา
อย่างเส้นผมก็จะเอามาซอย ส่วนลิ้นก็จะเอาไปย่างแล้ว เอามาบด ให้ละเอียด แล้วก็เอามาให้ท่าน ซึ่งทางท่านก็มีส่วนผสมอยู่แล้ว
เมื่อเอามาผสมกันแล้ว ก็ทำการปลุกเสก ที่จริง พลังจิตของท่านที่มีเจตนาเป็นกุศลแรง เป็นสิ่งที่ดีอยู่แล้ว ไม่จำเป็นต้องใส่ผงพรายกุมาร แต่ถ้ามีการใส่ผงพรายกุมารนี้ลงไป เขาบอกว่าถ้าทำอะไรผิดแหวกแนว คนใหม่ๆ มันชอบ มันก็เชื่อ เป็นอุปทานไป
ตอนนั้น หลวงปู่ทิมปลุกเสกขุนแผนผงพรายกุมาร นานแค่ไหนครับ?
ท่านปลุกเสกคนเดียว ประมาณ 1 อาทิตย์เศษๆ แล้วเขาก็เอาออกมาใช้กัน
วิชาการสร้างขุนแผนผงพรายกุมารของหลวงปู่ทิม ก็ตกทอดมาถึงหลวงพ่อด้วยใช่มั้ยครับ?
อาตมาก็ได้เรียนกับท่านมา และได้มาแบบท่านไม่ได้หวงเลย
อาตมาไม่ได้อย่างเดียว คือ คาถาที่เรียกปลาเท่านั้นแหละ อย่างผงพรายกุมาร อาตมาก็ได้จากท่านมาบางส่วน ก็ขอท่านไว้หลังจากที่ท่านทำพิธีปลุกเสก เพราะตอนนั้น อาตมาก็ช่วยเขาทำอยู่ด้วย แต่ก็ได้มานิดเดียว ค่อนๆ ตลับยาหม่องเล็กๆ พออาตมาสร้างพระขุนแผน ก็เอาผงพรายกุมารที่ได้มาใส่เป็นเชื้อ แล้วก็จะหาผงอย่างอื่นเอามาผสมกัน
วิชาเหล่านี้ นอกจากจะมีดีตามความเชื่อของแต่ละคนแล้ว
จะมีผลที่ไม่ดีอะไรบ้างมั้ยครับ?
อะไรที่เกี่ยวกับผี มันไม่ดีหรอก บอกได้เลยว่าไม่ดี ถ้าสมมติว่าเราทำให้ใครใช้ หากเราบังคับมันไม่อยู่ ไอ้คนใช้ก็จะอันตราย เป็นอย่างนั้น เพราะฉะนั้น ฉันเรียนมาก็จริง แต่ตัวฉันไม่เอานะ เข้ากับผี ไม่ว่าจะเป็นกระดูกหรืออะไร หลวงพ่อก็ทำได้ แต่ไม่ทำ ทำได้ เนื่องจากวิชาเหล่านี้เรียนมาทั้งนั้น แต่ไม่ทำ อะไรที่เกี่ยวกับผีเป็นไม่เอา จะเป็นสีผึ้ง หรืออะไรก็แล้วแต่ ไม่เอา มันจะเป็นอันตรายที่เกิดขึ้นได้ เพราะถ้าทำไม่ดี คนๆ นั้นอาจถึงขั้นวิปริต เสียสติไปเลย ส่วนพระขุนแผน พวกผงพรายกุมารนั้น ต้องเรียกว่าคนทำ คือ หลวงปู่ทิมท่านเก่ง ท่านบังคับอยู่เลย ท่านเสกบังคับไว้เสร็จเลย ฉะนั้น คนที่จะทำต่อไป ถ้าไม่แน่จริงอย่าไปทำ มันเป็นอันตรายถือว่าเล่นกับผีนะ เดี๋ยวเสกบังคับไม่ได้ ก็ยุ่งเลย
แล้วคาถาที่หลวงปู่ทิมเสกบังคับเอาไว้ ไม่มีเสื่อมบ้างหรือครับ
มันไม่เสื่อมหรอก เหมือนโบราณเขาว่าไว้ว่า ถ้าทำได้แน่จริง ดีจริงๆ มันไม่เสื่อมหรอก เช่นเดียวกับเพชรที่ตกไปในตม เอาขึ้นมาล้างมันก็คือเพชร ไม่เสื่อมหรอก
ได้ข่าวว่า ตอนนี้ หลวงพ่อกำลังจะสร้าง "พิพิธภัณฑ์ยันต์" ขึ้นมาที่วัดหนองกรับ ไม่ทราบว่าเป็นอย่างไรครับ?
ก็จะสร้างเป็นอาคาร 3 ชั้น ชั้นล่างก็จะเป็นกุฏิ ไว้ต้อนรับญาติโยมที่เดินทางมาทำบุญที่วัด ชั้น 2 ก็จะทำเป็นพิพิธภัณฑ์ ส่วนชั้น 3 จะใช้เป็นที่เก็บวัตถุมงคลต่างๆ ที่ได้ปลุกเสกแล้ว พิพิธภัณฑ์นี้จะใช้เวลาสร้างประมาณ 3 ปีได้ อาตมาคาดว่า เดือนพฤษภาคมปีนี้จะเสร็จสมบูรณ์
พิพิธภัณฑ์ที่ว่านี้ เมื่อเสร็จแล้วจะเป็นแบบไหนครับ?
จะทำเป็นที่เก็บเฉพาะ "ยันต์" เท่านั้น จะเป็นยันต์ขนาดใหญ่ที่ดูแล้วสวยงาม เป็นยันต์ที่อาตมาเขียนเองทั้งหมด ส่วนใหญก็เป็นยันต์ที่ได้เรียนมาจากหลวงปู่ทิม วัดระหารไร่ ก็มียันต์ หนุมาน ยันต์ชูชก และเป็นยันต์พวกดาวเดือน ฯลฯ ยันต์ต่างๆ ก็จะมีอยู่ในตำรา ลอกจากตำราแล้วเอาไปปั้นติดผนังเลย และคิดว่าถ้าปั้นจะแลดูขลังกว่า จะนูนออกมาสวยกว่า โดยจะมีการเขียนตัวหนังสือออกมาก่อน
แล้วเอามาแกะตัวหนังสือทำแม่พิมพ์เลย แล้วเทเป็นตัวๆ ไปเลย ก ข ค ง จ ธ ท น ฯลฯ ไอ้เส้นยันต์เราก็เทเป็นร่องๆ ไป ประมาณ 40 ซม. หรือ 30 ซม.
การเขียนยันต์ หลวงพ่อเรียนจากหลวงปู่ทิมท่านเดียวเลยเหรอครับ
อาตมาก็ไปเรียนกับอาจารย์เรียง อยู่ที่กรมศิลปากรด้วย ก็ไปเรียนกับท่านตั้งแต่อายุประมาณ 15 ปี สมัยนั้น ท่านอาจารย์เรียงมาทำงานอยู่แถวชลบุรี ท่านก็เริ่มให้ฝึกตั้งแต่การแกะสลักไม้ หลังจากนั้นก็ได้ฝึกเขียนยันต์ ส่วนใหญ่จะให้หัดเขียนเป็นลายไทย พวกลายกนกต่าง ๆ ก็เรียนอยู่กับอาจารย์เรียง ประมาณ 5 ปีเห็นจะได้ ก็เป็นพื้นฐานในการเขียนยันต์ต่างๆ ในเวลาต่อมา
เครื่องรางของขลังต่างๆ มีประโยชน์อย่างไรบ้างครับหลวงพ่อ
ให้เป็นพุทธานุสติ ให้มีการระลึกถึงสิ่งที่ศักดิ์สิทธิ์ คือพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ให้ระลึกนึกถึงคุณงามความดี ไอ้ประโยชน์ของเขามันมองไม่เห็น แต่กรณีฉุกเฉิน มันก็สามารถทำให้เราแคล้วคลาดจากอันตรายต่างๆ ไปได้ หรือบางครั้งจากหนักก็ให้เป็นเบาได้ เรื่องแบบนี้พูดยาก ขึ้นอยู่กับความเชื่อ หรือคนต้องประสบเอง
ในทางกลับกัน เครื่องรางของขลังต่างๆ มีโทษบ้างมั้ยครับ
ถ้านำไปใช้ในสิ่งที่ผิด ก็จะเกิดโทษ เช่น คนที่ได้เครื่องรางของขลัง
ไปแล้วคิดว่าตัวเอง ดีแล้ว เหนียวแล้ว คงกระพันแล้ว ก็เกิดความประมาท บางทีก็ไปหาเรื่องหาราวคนอื่น อย่างนี้ก็เป็นโทษ แต่ถ้าคนเรา เอาเครื่องราง ของขลังเอาไปใช้อย่างไม่ประมาท เอาไว้คุ้มครองตัวเอง เอาไว้เป็นที่ระลึก เป็นพุทธานุสติ คงไม่มีปัญหา

หลวงพ่ออุปัชฌาย์ไปล่ ฉนทสโร

หลวงพ่ออุปัชฌาย์ไปล่ ฉนทสโร
อดีตเจ้าอาวาสวัดกำแพง อำเภอบางขุนเทียน จังหวัดธนบุรี
• • • • • • • • • • • • • • • • • • • •


เหรียญของวัดนี้มีชื่อเสียงโด่งดังนับแต่ปี พ.ศ. ๒๔๗๘ ที่ได้สร้างขึ้นเป็นที่ระลึก เป็นเหรียญรูปหลวงพ่อไปล่ มีทั้งเนื้อทองเหลืองฝาบาตร และเนื้อสัมฤทธิ์เป็นเหรียญหล่อ ปัจจุบันนี้ก็หาของแท้ดูยากเพราะชื่อดัง จึงมีคนทำปลอมขึ้นแต่ทำเนื้อไม่เหมือนของจริง แม้จะพยายามทำสักเท่าไรก็ไม่เหมือนของจริงเป็นที่น่าอัศจรรย์

ผู้เขียนได้พยายามสืบหาประวัติของท่านมานานปี ที่สุดก็ได้รับความช่วยเหลือจาก
คุณเล็ก ภาณุนันท์ อดีตนายอำเภอบางขุนเทียน อันเป็นเจ้าของท้องที่ที่วัดกำแพงตั้งอยู่
คุณเล็กได้กรุณาไปสอบถามประวัติของหลวงพ่อไปล่ จากผู้ใหญ่แก้ว ซึ่งมีศักดิ์เป็นหลาน
ชายของหลวงพ่อเอง จึงได้เรื่องนำมาเผยแพร่ให้ท่านผู้อ่านได้ทราบประวัติของท่าน
ผู้เขียนขอขอบพระคุณของท่านทั้งสองดังกล่าวแล้วเป็นอย่างสูง


หลวงพ่อไปล่ มีภูมิลำเนาอยู่ที่บ้านหมู่ที่ ๖ ตำบลบางบอนใต้อำเภอบางขุนเทียน จังหวัดธนบุรีท่านเกิดวันอังคาร เดือน ๖ ปีวอก พ.ศ. ๒๔๐๓ เป็นบุตรนายเหลือ นางทอง นามสกุล ทองเหลือ ท่านมีพี่น้องร่วมบิดามารดาเป็น คหบดี อาชีพเกษตรกร เมื่ออายุ ๘ ขวบ ได้ไปศึกษาหนังสือไทยและขอมกับพระอาจารย์ทัตวัดสิงห์พออ่านออกเขียนได้ ก็ลาจากวัดมาช่วยผู้ปกครองประกอบอาชีพ ท่านเป็นคนมีร่างกายแข็งแรง ใจคอกล้าหาญ ทรหดอดทน กว้างขวางมีพรรคพวกเพื่อนฝูงมาก ยุคนั้นบ้านบาบอนใต้เป็นแดนนักเลงหัวไม้ มีทั้งชนไก่ กัดปลา ข้องอ้อย ฯลฯ เวลาวัดมีงานมักจะนัดตีกันเป็นประจำ สำหรับนายไปล่ พรรคพวกยกย่องให้เป็นลูกพี่ เหตุนี้ทำให้บิดามารดาวิตก เกรงว่าข้างหน้าอาจจะเสียคน เพราะคบเพื่อนไม่เลือกว่าคนดีคนพาล



พออายุ ๒๓ ปี ซึ่งเลยปีบวชมาแล้วบิดาจึงขอร้องให้บวชพระให้สัก ๑ พรรษา เมื่อบวชแล้ว ดวงชะตาของท่านจะเป็นอย่างไร ก็เป็นอันหมดห่วง ท่านก็ตกลงจึงเข้าอุปสมบท ณ พัทธสีมาวัดกำแพง อำเภอบางขุนเทียน โดยมีพระอุปัชฌายะ พระอาจารย์พ่วง วัดกกเป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอาจารย์ดิษฐ์ วัดกำแพงเป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้ฉายาว่า ฉนทสโร เมื่อบวชแล้วจำพรรษาอยู่วัดกำแพง ทำอุปัชฌายวัตรอาจาริยวัตรตามธรรมเนียมพระนวกะ ผู้บวชใหม่ และศึกษาพระธรรมวินัย ท่องบ่นสวดมนต์จนจบทุกยุคทุกคัมภีร์มีอุตสาหะจดจำได้แม่นยำ และเกิดเลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนา ครบ ๑ พรรษาแล้วเลยไม่ยอมสึก โยมก็ไม่ว่ากระไรด้วยทีแรกตั้งใจว่าบวชแล้วจะขอภรรยาให้จะได้เป็นหลักฐาน เมื่อเหตุการณ์เปลี่ยนแปลงไป ก็เป็นอันต้องระงับไป พอพรรษาที่ ๒ ท่านก็พยายามจนท่องพระปาฎิโมกข์ได้ สวดได้ชัดเจนในครั้งนั้นมีการนิยมการเรียนทางกัมมัฏฐานวิปัสสนาธุระ ด้วยอุปัชฌายะและคู่สวยของท่านล้วนแต่เชี่ยวชาญวิชาทางนี้ ก็ได้ไปถ่ายทอดเอาวิชามาฝึกฝนทดลองจนใช้การได้ นอกจาอาจารย์ของท่านแล้ว ยังได้ไปขอเรียนวิชาไสยศาสตร์เวทมนต์จากพระอาจารย์คง (องค์นี้ทราบว่าเป็นอาจารย์รุกขมูลธุดงค์) จนมีวิชากล้าแข็ง จะได้อธิบายวิชาของท่าน เรื่องวิชาเมตตามหานิยมเช่น ผง ๑๐๘ ขี้ผึ้งสีปาก ได้เรียนจากพระอาจารย์พ่วง วัดกก อาจารย์ชื่อดัง ขนาดเอาขี้ผึ้งทาสัตว์เช่น ไก่ นก สุนัข แมว จะเดินตามไปอยู่ด้วยที่บ้านไม่ยอมกลับที่เดิม เป็นที่รู้กันทั่วทั้งบางขุนเทียน ส่วนพระอาจารย์ดิษฐเก่งในทางคงกระพันชาตรี ผ้าประเจียดแดงของท่านดังมาก มียันต์หนุมานหาวเป็นดาวเป็นเดือนที่เรียกว่าหนุมานแผลงฤทธิ์ ๔ กร ในเรื่องรามเกียรติ์เป็นอาจารย์สักลายมือสวยนัก สักทีแรกก็แทงเข้า พอสักไปสักครู่วิชาอาถรรพณ์เข้าตัวเหล็กสักไม่ได้กินหลัง แทงเท่าไรกระเด้งกลับ เลยต้องเลิกเพราะสักไม่เข้า ศิษย์ของท่านหนังดีทั้งนั้น วิชานี้หลวงพ่อไปล่เรียนมา ขนาดเอามีดโกนปาดง่ามมือเล่นก็ไม่เข้า เวลาแจกของท่านทำให้ดู พูดว่ามันต้องเหนียวถึงง่ามมือง่ามเท้าจึงจะเก่งจริง ส่วนมากนักเลงที่ว่าเหนียวพอโดนมือโดนเท้าก็เปราะทนไม่ไหว สำหรับพระอาจารย์ดิษฐท่านเป็นศิษย์ของท่านมาก่อนบวช เมื่อยังเป็นนักเลงใครก็รู้ว่าหนังดีจริงๆ จนไม่มีใครกล้าต่อกร เมื่อมาบวชแล้วก็เลิกเปลี่ยนเป็นคนละคนทีเดียว แต่คนทั้งพลายที่เคยเห็นฤทธิ์ ก็ยังเกรงอยู่ไม่กล้าทำแหยมกับท่าน ส่วนพระอาจารย์คงซึ่งเป็นอาจารย์อีกองค์หนึ่งของท่าน ปรากฏว่า อยู่คงสมชื่อวิชาผูกหุ่นพยนต์ก็เคยไปศึกษากับหลวงพ่อเก้ายอดวัดบางปลา สมุทรสาคร (ท่านองค์นี้กำบังกายหายตัวได้ กรมหลวงชุมพรเขตต์อุดมศักดิ์นับถือเป็นพระอาจารย์) ท่านได้เรียนกับอาจารย์เก่งๆ ดังกล่าวไม่ต้องบอกก็ได้ว่าท่านเก่งขนาดไหนแต่ไม่เคยคุยโอ้อวด ท่านเป็นพระสมถะ ไม่ทะเยอทะยานในลาภยศ มีความเป็นอยู่อย่างง่ายๆ กวาดกุฏิเอง ของส่วนตัวทำเอง ไม่เคยใช้ให้ใครทำ ขยันในการทำวัตรสวดมนต์เคร่งครัดต่อพระธรรมวินัยชอบความมีระเบียบเรียบร้อย



เมื่อวัดกำแพงว่างสมภารลงทางการคณะสงฆ์และประชาชนได้ขอร้องให้ท่านเป็นสมภาร อันตำแหน่งสมภารเจ้าวัดท่านไม่เคยสนใจ แต่ขัดชาวบ้านไม่ได้ก็จำเป็นต้องรับได้เป็นคู่สวดและอุปัชฌายะมีคนมาให้ท่านบวชพระปีละมากๆ เพราะเลื่อมใสศรัทธาในจริยาวัตรของท่านและอยากได้ของขลังของดีจากท่าน

พ.ศ. ๒๔๗๘ คณะศิษยานุศิษย์ร่วมกันบำเพ็ญกุศลฉลองอายุให้ท่าน ในงานนี้ได้ออกเหรียญรูปท่านเต็มองค์ห่มลดไหล่สมาธิ เป็นเหรียญหล่อทำรูปคล้ายจอบด้านหลังเหรียญมีอักษรไทยว่า ที่ระฤก ๒๔๗๘ วันเทเหรียญปรากฏว่าสายสิญจน์ในพิธีตกลงมาถูกเทียนชัยจี้อยู่จนหมดเวลาพิธี สายสิญจน์ไม่ไหม้เป็นที่น่าตื่นเต้น เพราะขณะนั้นหลวงพ่อไปล่ท่านนั่งปรกบริกรรมด้วยจิตเป็นสมาธิแน่วแน่ ท่านชอบเดี่ยว ไม่ค่อยจะไปร่วมพิธีกับใคร บอกว่าไปรวมกันไม่รู้ว่าพิธีกับใคร บอกว่าไปรวมกันไม่รู้ว่าใครจะแน่สู้เดี่ยวไม่ได้ และการที่สร้างเหรียญรูปจอบมาขุดฝังเรา และจอบเป็นสัญลักษณ์เครื่องมือสำคัญในการเพาะปลูก ชาวสวนชาวนาต้องพึ่งจอบเหรียญรุ่นนี้มีประสบการณ์ดังมากใครได้รับแจกเป็นรับรองได้ว่าเรื่องมีดเรื่องปืน อาวุธทั้งหลายเรียกว่าแมลงวัน ไม่ได้กินเลือดทีเดียวเหรียญรุ่นนี้ทำเป็นเหรียญรูปไข่ก็มีเนื้อเป็นสัมฤทธิ์ และทองเหลืองฝาบาตร ที่ต้องทำเป็นเหรียญหล่อท่านบอกว่าพิธีเข้มข้นกว่าเหรียญปั๊มมาก


หลวงพ่ออุปัชฌาย์ไปล่ ฉนทสโร

นอกจากเหรียญรุ่นนี้แล้ว เมื่อมีงานล้างป่าช้าวัดกำแพงท่านได้ออกเหรียญเป็นรูปพระพุทธรูปเป็นเนื้อโลหะทองเหลือง รุ่นหลังนี้เรียกว่ารุ่นล้างป่าช้า ใช้ได้ผลมีคนนิยมมากเช่นกัน การแจกเหรียญของท่านไม่กะเกณฑ์ในเรื่องเงินทองใครจะทำบุญก็ทำ ใครจะมาขอฟรีท่านก็แจก

หลวงพ่อไปล่ท่านมีกระแสจิตกล้าแข็ง คราวหนึ่งเจ้าคุณพระพุทธพยากรณ์(เจริญ อุปวิกาโส) วัดหมูอัปสรสวรรค์ ได้มานิมนต์ให้ไปนั่งปรกในงานหล่อพระที่วัดหมูท่านบอกว่าให้บอกเวลามาว่าพิธีจะลงมือเมื่อไร ท่านจะนั่งทำสมาธิอยู่ที่กุฏิของท่าน ไม่ต้องเดินทางมานั่งถึงวัดหมู เจ้าคุณพุทธพยากรณ์องค์นี้เป็นลูกศิษย์พระภาวนาโกศลเถร (เอี่ยม) วัดหนัง มีวิชาทางในสูงรู้ทันทีว่าหลวงพ่อไปล่จะนั่งทำสมาธิที่ไหนก็ได้ขอให้บอกเวลาให้ท่านทราบ พอถึงเวลาปลุกเสก พระอาจารย์ในพิธีที่นิมนต์มาจะเห็นร่างหลวงพ่อไปล่ปรากฏนั่งสมาธิอยู่ ในพิธีด้วย เรื่องนี้ใครๆ ก็ทราบโทษขานกันทั่วไป

อยู่มาวันหนึ่งท่านพูดกับศิษย์ที่ใช้ใกล้ชิดว่าให้เอ็งช่วยจำไว้ด้วยว่าอีก ๒-๓ วัน ข้าจะเลิกฉันน้ำชาเสียที ศิษย์ผู้นั้นได้ฟังก็สงสัยแต่ไม่กล้าซักถาม พอถึงวันที่ ๓ นับแต่ท่านพูดปรากฏว่าพวกขี้ยามาขโมยเอาป้านน้ำชาที่ท่านฉันประจำ ไปนับแต่นั้นท่านก็เลิกฉันน้ำชาจริงๆเรียกว่ารู้ล่วงหน้า เรื่องกำลังจิตกล้า อีกเรื่องหนึ่งคือ นายสุดใจเปรมชื่น คนรางสี่บาทแสมดำ ศิษย์ของท่านไปถูกเกณฑ์ทหารบก ทางการเขาส่งไปแนวหน้า เวลานั้นเริ่มสงครามมหาเอเซียบูรพา นายสุดใจได้มาขอของดีจากท่านไปคุ้มตัว บังเอิญเดินสวนกับท่านไปคุ้มตัว บังเอิญเดินสวนกับท่านที่ทางรถไฟสายมหาชัยตอนใกล้สถานีบางบอน ด้วยมีคนเขานิมนต์ท่านไปสวดมนต์งานทำบุญบ้านใกล้ๆ บางบอน นายสุดใจก็นั่งลงยกมือไหว้พูดขอของดีจากท่านว่าจะไปแนวหน้า ท่านหัวเราะบอกว่าข้าไม่ได้เอาอะไรติดย่ามมาเอ็งหยิบเอาก้อนหินข้างทางรถไฟมาสักก้อนหนึ่งนายสุดใจก็หยิบหินส่งให้ท่านๆ หยิบไปทำสมาธิสักครู่แล้วก็ส่งให้บอกว่านี่แหละคุ้มตัวได้นายสุดใจเห็นแล้วจะไม่เอาก็เกรงท่านเพราะท่านเป็นอุปัชฌายะบวชให้ ได้นำหินก้อนนั้นติดตัวไปสนามรบไม่เคยมีอันตรายและไม่เคยป่วยไข้ ปืนในสนามยิงมาเท่าไหร่ก็ยิงไม่ถูกเลย พวกเพื่อนๆ ถามว่าเอ็งพกอะไรมานายสุดใจหยิบก้อนหินที่ถักลวดแขวนคอเพียงก้อนเดียวให้ดูพวกเพื่อนหัวเราะไม่เชื่อ ขอเอาไปทดลองด้วยปืนปรากฏว่า ยิงเท่าไหร่ก็ไม่ออกเลยเลิกดูถูกท่าน

เรื่องน้ำมนต์สะเดาะเคราะห์ของท่าน มีคนให้รดเป็นประจำวิชามหาประสานเคยแสดงให้ดูในคราวในวัดมีงาน เกิดฟันกันชุลมุนปรากฏว่าคนถูกฟันวิ่งไปบนกุฏิของท่านๆ จึงบ้วนน้ำมหากรดที่แผลถูกฟัน แผลก็ติดกันสนิท ท่านถามเป็นเชิงทดลองใจว่า แผลสนิทแล้วจะไปไหน เจ้าคนนั้นเกิดมีกำลังใจเลือดนักสู้เลยบอกว่าจะไปฟันกับมันต่อ ท่านหัวร่อบอกว่า ลูกผู้ชายมันต้องอย่าถอย ถ้าเอ็งกลับไปบ้านเห็นที่แผลที่ประสานไว้จะแยกตามเดิม มีบางรายพอมาให้ท่านประสาน แผลแล้วเกิดใจไม่สู้เรียกว่าชักจะแหยพอกลับไปถึงบ้านแผลก็แยก ต้องกลับมาฟันกับเขาใหม่อีกครั้ง ดูก็น่าอัศจรรย์แผลกลับติดดังเก่า เรื่องนี้หลวงพ่อเลียบวัดเลาเคยเล่าให้พวกนังเลงฟังว่า เอ็งอย่าไปเล่นกับท่านวัดกำแพงนะ ท่านเป็นคนจริงอย่าไปทำแหยให้ท่านเห็นเป็นอันขาด หลวงพ่อเลียบเป็นศิษย์อุปัชฌาย์องค์เดียวกันกับหลวงพ่อไปล่ คือหลวงพ่อทัตวัดสิงห์บางขุนเทียน รู้จิตใจกันดี เมื่อท่านมาได้ดีเป็นพระราชาคณะที่พรเทพสิทธินายก เจ้าอาวาสวีดเทวราชกุญชรก็ยังไปมาหาสู่กันเสมอเคยสนับสนุนจะให้หลวงพ่อไปล่ ได้สมณศักดิ์เป็นพระครู ท่านกลับว่าฉันไม่อยากเป็นครูพระหรอกสอนตัวเองก็พอใจแล้ว การเป็นพระครูหมายถึงต้องเป็นครูสอนพระฟังดูเป็นคำคมของท่าน ด้วยไม่ทะเยอทะยานเป็นใหญ่เป็นโตอะไรไม่สนใจเรื่องยศช้างขุนนางพระตามคำกล่าวของคนโบราณ ท่านขอแต่ได้ครองศีลบริสุทธิ์พอใจเป็นเพียงตำแหน่งพระอุปัชฌายะบวชพระเอาบุญกุศลเท่านั้น จะใหญ่จะโตแค่ไหนก็เน่าทั้งนั้นที่เรียกว่าผู้ใหญ่วันนี้ก็คือผีวันหน้านั่นเองหนีไม่พ้น



จะขอนำคาถาที่ท่านสอนให้ภาวนาเวลา จะออกจากบ้านว่าดังนี้ตั้งนะโม ๓ จบ
พระพุทธอยู่หลังพระอะระหังอยู่หน้า ตรงกลางคือตัวอาตมา มหาเดชาภะวันตุเม บอกว่าไปไหนๆ ไม่ต้องเป็นห่วงชีวิตเพราะมีผู้ปกป้องอยู่ทั้งหน้าหลังดังกล่าวแล้ว อีกบท ๑ เป็นคาถาทางเมตตามหานิยม สะเพ็ชชะนา พหูชะนาท่องแล้วเขายังไม่มาต้องไปหาเขาเองเพราะจะมัวรออยู่ก็จะเสียเวลาเปล่าฟังดูแล้วเห็นจริง ปัจจุบันนี้ไม่มีเวลารอกันแล้ว มือใครยาวสาวได้สาวเอา มือใครสั้นเอาวัลย์ต่อเข้าเคยเตือนลูกศิษย์ว่า แม้ฉลาดก็อย่าขาดเฉลียว ประเดี๋ยวจะพลาดอย่าได้ประมาทเลย

คำขวัญของเหรียญมีว่า
มีเหรียญหลวงพ่อไปล่วัดกำแพงใครจะมาฆ่าแกงก็ไม่ต้องกลัว ถึงไหนถึงกันคงกระพันชาตรีดีนักแล
สมัยนั้นใครมีเหรียญวัดหนังก็ไม่กล้าแหยมกับคนที่แขวนเหรียญวัดกำแพงจัดเป็นยอดเหรียญของอำเภอบางขุนเทียน ทั้ง ๒ วัดใครๆ ก็รู้กันทั่วว่าเด็ดทั้งคู่ ท่านได้บำเพ็ญศาสนกิจมาด้วยความเกร่งครัดสม่ำเสมอในที่สุดก็ถึงมรณภาพลงด้วยอาการอันสงบ สมเป็นนักปฏิบัติ เมื่ออายุ ๗๙ ปี พรรษา ๕๙

อนึ่งตามปกติหลวงพ่อไปล่ชอบสงบไม่ชอบอึกทึกครึกโครมในวันเผาศพท่าน พวกศิษย์ได้นำพลุ ตะไล ไฟพะเนียง ดอกไม้เพลิงมาจุดด้านหมดจุดไฟติดเลยพองานเลิกได้นำมาจุดใหม่ ดังสนั่นหวั่นไหว การจุดต้องลากไปจุดกันนอกวัด ถ้าในวัดก็ด้านน่าแปลกจริงเรื่องนี้ใครๆ รู้กันทั่วได้พูดถึงอภินิหารของท่านมาจนทุกวันนี้

กระดูกขี้เถ้าคนที่ไปเผาเข้าแย่งกันอุตลุด ไม่มีเหลือ ทั้งนี้เพราะความเลื่อมใสศรัทธา มีคนเล่าว่าแม้แต่ท่านมรณภาพไปแล้ว หนังยังเหนียว พวกสัปเหร่อเอามีดตบแต่งศพก็ยังเฉือนไม่เข้า ต้องจุดธูปจุดเทียนบอกเล่าขอขมา แม้กระนั้นก็ยังเฉือนไม่เข้าอยู่นั่นเอง และศพก็แห้งไปเลยๆ ไม่มีกลิ่นเน่าเหม็นทั้งนี้เพราะท่านรักษาศีลบริสุทธิ์นั่นเอง คนไปเผาท่านมากันมากมายหลายจังหวัดมีทั้งคนเล็กคนใหญ่ ไม่เลือกชั้นวรรณะ เสมอภาคกันเพราะเมื่อท่านยังมีชีวิตก็เป็นกันเองแก่คนทั่วไปไม่ถือคนจนคนมี ท่านพูดว่าในที่สุดก็ทันกันตอนหมดลมหายใจนี่แหละ เกิดเท่าไหร่ตายเท่านั้นมาสามัคคีกันจะดีกว่าท่านเคยพูดว่าคนมาผ่านโลก ไม่ได้มาประจำโลกคือ มาพบกันชั่วคราวเท่านั้นเอง ฉะนั้น ตัวอกุศลมูล มี โลภ โกรธ หลงควรละเสียบ้างถึงละได้ ไม่มากก็ยังดีกว่าสะสมมันเอาไว้



สุดท้ายนี้ขอให้ท่านผู้ได้อ่านประวัติและคติเตือนใจของหลวงพ่อไปล่จงหมดทุกข์ปลอดภัย และอยู่เย็นเป็นสุขจิตสดใส ความพอคือความเป็นอัครมหาเศรษฐีถ้ายังไม่พอก็ยังเป็นไม่ได้หรอกนะ สุ.จิ.ปุ.ลิ.ต่อไปนี้ เป็นคาถาที่หลวงพ่อไปล่ภาวนาเป็นประจำ คือกำแพงแก้ว ๗ ประการ ท่องว่า พุทธัง ธัมมัง สังฆัง สัตตะระตะมะปะการัง อัมมหากัง สะระณังคัจฉามิ สุสุละละโสโส นะโมพุทธายะ พุทโธพระบังธัมโมพระบัง สังโฆพระบัง

พระครูวัตตสารโสภณ (หลวงพ่อดอกไม้) วัดดอนเจดีย์ ต.ดอนเจดีย์ อ.พนมทวน จ.กาญจนบุรี

พระครูวัตตสารโสภณ (หลวงพ่อดอกไม้)

วัดดอนเจดีย์  ต.ดอนเจดีย์  อ.พนมทวน  จ.กาญจนบุรี
   พระครูวัตตสารโสภณ เดิมท่านชื่อ ดอกไม้ นามสกุล ราชจำนงค์  ท่านเกิดปลายสมัยรัชกาลที่ ๔ ในปี พ.ศ.๒๔๐๓  ที่บ้านหนองปริก ซึ่งต่อมาได้ย้ายมาอยู่บ้านหนองขุย ตำบลดอนเจดีย์ อำเภอพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี (ปัจจุบันบ้านหนองขุยขึ้นอยู่กับตำบลหนองสาหร่าย)
โยมบิดา ชื่อ นายลาด ราชจำนงค์
โยมมารดา ชื่อ นางเลี้ยง ราชจำนงค์
ท่านมีพี่น้องด้วยกัน ๓ คน คือ
          ๑ นายด้วง ราชจำนงค์
          ๒ นางตั๋ว ราชจำนงค์
          ๓ พระครูวัตตสารโสภณ (หลวงพ่อดอกไม้)
       ในสมัยรัชกาลที่ ๕  ปี พ.ศ.๒๔๒๔ ขณะที่ท่านอายุ ๒๑ ปี ได้อุปสมบทตามกุลบุตรชายไทยใต้ร่มพระบวรพุทธศาสนา   ได้รับฉายาว่า ?ปทุมรัตโน? ไม่ทราบว่าพระท่านใดเป็นพระอุปัชฌาย์และอุปสมบทที่วัดใด แต่ที่เล่าสืบต่อกันมา...ท่านเป็นลูกศิษย์องค์หนึ่งของหลวงปู่ยิ้ม วัดหนองบัว พระเกจิอาจารย์ผู้เลื่องลือนามของกาญจนบุรี 
       ย้อนกล่าวถึง หลวงปู่ยิ้ม (จันทโชติ) อริยสงฆ์แห่งวัดหนองบัวองค์นี้ท่านออกธุดงค์ศึกษาวิชาไสยเวทย์จากพระอาจารย์สำนักต่างๆ อาทิเช่น หลวงพ่อปลัดทิม(วัดบางลี่น้อย อัมพวา) เรียนวิชาโภคทรัพย์, หลวงปู่พ่วง(วัดลิงเจน) เรียนวิชาทำธงกันอสุนิบาตสายฟ้าและพายุ วิชาหวายลงอักขระ เวลาลงทะเลให้เอาหวายโยนลงน้ำทะเล ตักน้ำในวงหวายน้ำจะจืดทันที และ ทำลูกอมหมากทุย , หลวงพ่อกลัด(วัดบางพรม อัมพวา)เรียนวิชามหาอุต ผ้าเช็ดหน้าทางมหานิยม เชือกคาดเอวกระดูกงูและย่นระยะทาง, หลวงพ่อแจ้ง (วัดประดู่อัมพวา) เรียนวิชาแพทย์แผนโบราณมีดหมอปราบภูตผีปีศาจ และ เชือกคาดเอวตะขาบไฟไส้หนุมาน, หลวงพ่อกลิ่น(วัดหนองบัว)เรียนวิชาไสยเวทย์ต่างๆ จนวิชาของหลวงปู่ยิ้มแก่กล้าสามารถมาก    ท่านเป็น ๑ใน๑๐พระเกจิอาจารย์สุดยอดของประเทศไทยที่ผ่านการทดสอบวิทยาคม และใช้พลังจิตทำให้กบไสไม้ขึ้นหน้า แล้วหันกลับได้โดยไม่ใช้มือจับหัน ที่จังหวัดนครปฐม ช่วงปี พ.ศ. ๒๔๕๒ (ในคราวนั้นมีพระเกจิอาจารย์จากสำนักต่างๆร่วม






ทดสอบ ๑๐๐ กว่าองค์)  อริยสงฆ์ที่ผ่านการทดสอบทั้งหมด ๑๐ องค์ มีดังนี้
๑.หลวงปู่ยิ้ม วัดหนองบัว
๒.หลวงปู่ทอง วัดเขากบ
๓.หลวงปู่เงิน วัดบางคลาน
๔.หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า
๕.หลวงปู่ทา วัดพะเนียงแตก
๖.หลวงปู่ปาน วัดบางเหี้ย
๗.หลวงปู่เอี่ยม วัดหนัง
๘.หลวงปู่กลั่น วัดพระญาติ
๙.หลวงปู่จร วัดเขารวบ
๑๐.หลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้ว

          มีเรื่องเล่าสืบต่อกันว่าผู้ที่มาเป็นศิษย์ของหลวงปู่ยิ้ม ต้องผ่านทดสอบการใช้สมาธิพลังจิตเพ่งไส้เทียนให้ขาดกลาง (แสดงถึงพลังจิตพื้นฐานเข้มแข็ง) หลวงปู่ยิ้มจึงจักประสิทธิ์ประสาธน์วิชาชั้นสูงให้    ครั้นเมื่อหลวงพ่อดอกไม้ทราบข่าว ที่วัดหนองบัวมีพระเกจิปรมาจารย์ผู้แก่กล้าเกิดศรัทธายิ่งนัก จึงเดินทางถวายตัวเป็นศิษย์และสามารถผ่านการทดสอบ เพ่งไส้เทียนขาด ได้เป็นศิษย์หลวงปู่ยิ้ม    เล่าเรียนวิชาอาคมชั้นสูงพร้อมปฏิบัติกิจของสงฆ์อยู่วัดหนองบัวถึงขั้นเก่งกล้าสามารถ  จนญาติโยมในละแวกเขตวัดหนองบัวยังจำชื่อของหลวงพ่อดอกไม้ได้เป็นอย่างดีเมื่อคราวมีใครเอ๋ยถาม ก่อนที่หลวงพ่อจะย้ายกลับมาจำพรรษาเป็นเจ้าอาวาสปกครองอยู่    วัดหนองขาว      ตำบลหนองขาว      อำเภอวังขนาย(ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็น อำเภอท่าม่วง)  จังหวัดกาญจนบุรี
         จากข้อความคำบอกเล่าของ ก๋งพ้ง บัวขม เป็นช่างแกะพระ เกิดช่วง ปี พ.ศ.๒๔๒๕ - ๒๕๒๔  ผู้ได้ใกล้ชิดกับท่านหลวงปู่ยิ้มกล่าวไว้ว่า หลวงพ่อดอกไม้เป็นลูกศิษย์ที่เก่งกล้าของหลวงปู่ยิ้มองค์หนึ่ง ในขณะนั้นประจำอยู่วัดหนองขาว  หลวงพ่อดอกไม้มีความสามารถในวิชาหลายด้าน อาทิเช่น
เสกใบมะขามเป็นตัวต่อ
ย่นหนทาง
เสกควายธนู
เดินบนผิวน้ำ



หลวงปู่ยิ้มเคยนิมนต์ หลวงพ่อดอกไม้ หลวงปู่ม่วง(วัดบ้านทวน) หลวงปู่เปลี่ยน(วัดใต้) และ หลวงปู่เนียม(วัดน้อย จังหวัดสุพรรณบุรี) รวมทั้งหมด ๕ รูป ไปฉันที่วังกรมหลวงชุมพรฯ กรุงเทพมหานคร      เมื่อกลับกรมหลวงชุมพรฯได้ถวายจีวรของใช้ต่างๆให้หลวงปู่ยิ้ม  แต่หลวงปู่ยิ้มส่งให้หลวงพ่อดอกไม้นำกลับไปไว้วัดท่าน เพราะวัดท่านยังจนอยู่  (การเข้าวังกรมหลวงชุมพรฯ มีความเป็นไปได้  เพื่อทำพิธีไหว้ครู เนื่องจากประวัติหลวงปู่ศุขได้กล่าวถึงการรับนินมต์เกจิอาจารย์สายหลวงปู่ศุข ๕ รูปเช่นกัน ในการพิธีไหว้ครูของกรมหลวงชุมพรฯ)
        จากคำบอกเล่าของ ปู่หว่า กลัวผิด ท่านเป็นคนบ้านหนองขาวแต่กำเนิด เกิดช่วงปี พ.ศ. ๒๔๕๔   ปัจจุบันอายุ ๙๖ ปี เล่าให้ฟังว่า  ขณะที่ปู่หว่าอายุ ๑๐ กว่าปี  ได้เป็นลูกศิษย์วัดสมัยท่านพระครูจริยาภิรัตหรืออาจารย์ยันต์เจ้าอาวาสวัดหนองขาวคราวนั้น  เล่าให้ฟังเกี่ยวกับหลวงพ่อดอกไม้ว่าท่านเคยแลกเปลี่ยนวิชากับหลวงพ่อเปลี่ยน(วัดใต้)ด้วย  เพื่อเสริมสร้างความแก่กล้าวิชา หลวงพ่อดอกไม้ท่านเป็นเจ้าอาวาสปกครองวัดหนองขาวอยู่นานก่อนแล้ว ครั้งนั้นได้มีทายกทายิกาจากบ้านดอนเจดีย์หลายจักประมาณอยู่    มานิมนต์หลวงพ่อให้ย้ายไปเป็นเจ้าอาวาสปกครองที่วัดดอนเจดีย์   หลวงพ่อท่านเองก็ใคร่ครุ่นคิดพิจารณาเห็นว่า วัดดอนเจดีย์คราวนั้นต้องการพระผู้ปกครองและพัฒนาพระพุทธศาสนา ประกอบกับวัดยังไม่มีศาสนสถานในการประกอบกิจทางสงฆ์อยู่หลายประการ   ท่านเองก็มีโยมบิดาโยมมารดาอยู่เขตวัดนั้นจึงเห็นเป็นการควรตามคำขอ   ย้ายมาเป็นเจ้าอาวาสวัดดอนเจดีย์ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา
        ช่วงปี พ.ศ. ๒๔๕๐-๒๔๕๒ เป็นปีที่หลวงพ่อดอกไม้ย้ายมาเป็นเจ้าอาวาสอยู่วัดดอนเจดีย์ โดยพิจารณาหลักฐานข้อมูลจากประวัติชาติภูมิของหลวงปู่ยิ้มและหลวงปู่เนียม ดังนี้ ในปี พ.ศ.๒๔๕๐ เป็นปีแรกที่ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ เสด็จมาศึกษาวิชาทางไสยเวทย์กับหลวงปู่ยิ้มวัดหนองบัว  ไม่นานต่อมาหลวงปู่ยิ้มได้นิมนต์ หลวงพ่อดอกไม้ หลวงปู่ม่วง หลวงปู่เปลี่ยน และหลวงปู่เนียม ไปฉันยังวังกรมหลวงชุมพรฯ กรุงเทพฯ เมื่อกลับกรมหลวงชุมพรฯได้ถวายจีวรของใช้ต่างๆให้หลวงปู่ยิ้ม  แต่หลวงปู่ยิ้มส่งให้หลวงพ่อดอกไม้นำกลับไปไว้วัดท่าน ?เพราะวัดท่านยังจนอยู่? (น่าจะเป็นวัดดอนเจดีย์) ขากลับหลวงปู่ยิ้มแยกเดินทางไปยังวัดน้อยของหลวงปู่เนียมจังหวัดสุพรรณบุรี ซึ่งหลวงปู่เนียม ท่านมรณภาพลงในปี พ.ศ.๒๔๕๒ ด้วยอายุ ๘๐ ปี(ซึ่งแสดงว่าหลวงพ่อดอกไม้ย้ายมาอยู่วัดดอนเจดีย์ช่วงที่หลวงปู่เนียมยังมีชีวิตอยู่ )
         ช่วงที่หลวงพ่อดอกไม้ย้ายมาอยู่วัดดอนเจดีย์ ก่อนหน้านั้นพี่ชายของท่านคือพระอาจารย์ด้วง ปกครองวัดดอนเจดีย์อยู่ก่อนแล้วและเป็นผู้ริเริ่มก่อสร้างพระอุโบสถ(หลังเก่า)ขึ้นแต่ไม่ทันเสร็จ เมื่อหลวงพ่อดอกไม้ย้ายมาอยู่ที่วัดดอนเจดีย์ พี่ชายของท่านก็ได้สึกออกไปประกอบอาชีพในเพศฆราวาสและมีครอบครัว หลวงพ่อดอกไม้จึงได้สร้างพระอุโบสถต่อจนเสร็จสมบูรณ์ ระบุข้อความใต้ฐานพระประธาน "พุทฯ ๒๔๕๒ในเวลานั้นเป็นที่ทราบกันดีว่าหลวงพ่อท่านเคยศึกษาวิชาอาคมกับหลวงปู่ยิ้มและเป็นศิษย์องค์หนึ่งที่หลวงปู่ยิ้มไว้ใจ ถึงขนาดเคยนิมนต์เข้าวังกรมหลวงชุมพรฯพร้อมหลวงปู่  ทำให้มีญาติโยมมากมายหลากหลายสถานที่แวะเวียนเข้ามากราบไหว้ ขอให้หลวงพ่อดอกไม้ช่วยปัดเป่าประพรมน้ำพระพุทธมนต์เรื่องทุกข์ร้อนใจให้หายบรรเทา ความศักดิ์สิทธิ์ในวิชาบังเกิดผลปรากฏต่อบรรดาญาติโยม จนเป็นที่เคารพศรัทธานับถือกว้างขวางอย่างรวดเร็ว ท่านจึงเป็นหนึ่งในพระเกจิอาจารย์ที่มีผู้นิยมแสวงหาเครื่องรางของขลังไว้คุ้มครองภัยอย่างมากในช่วงเวลานั้น
        ในสมัยรัชกาลที่ ๖  ปี พ.ศ. ๒๔๕๔ ช่วงเดือนธันวาคม หลวงปู่ยิ้ม วัดหนองบัว มรณภาพลง หลวงพ่อดอกไม้เดินทางร่วมประชุมเพลิงพร้อมกับพระเกจิลูกศิษย์สายของหลวงปู่ยิ้มอีกหลายรูป อาทิเช่น หลวงปู่เหรียญ(วัดหนองบัว) หลวงพ่อเปลี่ยน(วัดใต้) หลวงพ่อดี(วัดเหนือ) หลวงพ่อเกลี้ยง(วัดเขาใหญ่) หลวงพ่อใจ(วัดเสด็จ) หลวงพ่อเหมือน(วัดกลางบางเหนือ) หลวงพ่อคง(วัดบางกะพ้อม) หลวงพ่อแช่ม(วัดจุฬามณี) หลวงพ่อรอด(วัดวังน้ำวน) หลวงพ่อเก้ายอด(วัดบางปลา) หลวงพ่อรุ่ง(วัดท่ากระบือ)      หลวงพ่อพวง(วัดหนองกระโดน)       หลวงพ่อพริ้ง(วัดวรจันทร์) ท่านหลวงปู่บุญ (วัดกลางบางแก้ว ท่านนี้เป็นศิษย์ร่วมอาจารย์เดียวกับหลวงปู่ยิ้ม) และท่านกรมหลวงชุมพรฯ ศิษย์ผู้เป็นฆราวาส
        ในปี พ.ศ. ๒๔๕๘ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส วัดบวรนิเวศ (สมเด็จพระสังฆราช ลำดับองค์ที่ ๑๐)  ทรงเสร็จตรวจการคณะสงฆ์ในมณฑลราชบุรี ๕ จังหวัด ได้แก่ สมุทรสงคราม ราชบุรี กาญจนบุรี เพชรบุรี และประจวบคีรีขันธ์   ครั้นเดินทางมายังเมืองกาญจนบุรีซึ่งมีอาณาเขตกว้างใหญ่   ทรงเห็นคณะสงฆ์ปกครองกันเรียบร้อยเป็นแบบอย่างที่ดีจึงตรัสชม     ในการนี้เจ้าอธิการม่วง(หลวงพ่อม่วง) ตำแหน่งเจ้าคณะแขวงบ้านทวนขณะนั้น อายุ ๘๐ ปี  อ่านถวายรายงานได้คล่องแคล่ว สมเด็จพระมหาสมณเจ้าฯพอพระทัยความเอาการเอางาน ทรงโปรดพระราชทานสมณศักดิ์พระครูสัญญาบัตร-พัดยศ มีราชทินนามว่า พระครูสิงคีคุณธาดา  เลื่อนขึ้นเป็นรองเจ้าคณะจังหวัดกาญจนบุรีแทนที่ว่างเมื่อคราว พระครูสิงคิบุรคณาจารย์(สุด) มรณภาพลงในวันพุธที่ ๘ กุมภาพันธ์ ปี พ.ศ.๒๔๕๔   จึงทำให้ตำแหน่งเจ้าคณะแขวงบ้านทวนวางลงตั้งแต่บัดนั้น (ใช้เวลาตรวจการคณะสงฆ์ทั่วทั้งประเทศเริ่มตั้งแต่ ปี พ.ศ.๒๔๕๕ ? ๒๔๖๐)
          ปี พ.ศ.๒๔๖๐ (สมัยสงครามโลกครั้งที่๑)   ขณะที่ท่านมีสมณศักดิ์เป็นพระอธิการดอกไม้ ชาวบ้านพร้อมด้วยศิษยานุศิษย์ได้ขออนุญาตหลวงพ่อ ร่วมกันจัดสร้างรูปเหมือนขนาดเท่าองค์จริงขึ้นคราวที่ท่านยังมีชีวิตอยู่    หลวงพ่อเองก็ยินดีเสมือนหยั่งรู้อนาคตว่าหลังวันสิ้นบุญต่อไปภายภาคหน้า รูปหล่อจักเป็นตัวแทนในการพึ่งบุญต่อสานุศิษย์ การสร้างรูปเหมือนครั้งนั้นเริ่มดำเนินการหลังก่อสร้างพระอุโบสถเสร็จแล้ว   จ้างช่างก่อสร้างสถูปเจดีย์จากอำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี เพื่อเป็นสถานที่ประดิษฐานรูปหล่อ โดยที่ฐานของรูปหล่อระบุข้อความ  ?อธิการดอกไม้ อายุ ๕๗ปี พรรษา ๓๖ พ.ศ.๒๔๖๐?   เพื่อเป็นที่สักการะกราบไหว้ของบุคคลโดยทั่วไป จนกระทั่งปัจจุบันทางวัดได้มีการจัดงานปิดทองรูปเหมือนหลวงพ่อเป็นประจำทุกปี เป็นประเพณีปฏิบัติสืบต่อกันมา 

 ปี พ.ศ. ๒๔๖๑ ได้รับแต่งตั้งให้เป็นพระอุปัชฌาย์ รับพระราชทานสมณศักดิ์ พระครูสัญญาบัตร-พัดยศ เป็นเจ้าคณะแขวงบ้านทวน (อำเภอพนมทวน) มีราชทินนามว่า ?พระครูวัตตสารโสภณ? รับนิตยภัตเดือนละ ๖ บาท โดยตำแหน่งนี้ท่านได้รับต่อจากท่าน พระครูสิงคีคุณธาดา (ม่วง) วัดบ้านทวน    ซึ่งเลื่อนขึ้นไปรับตำแหน่งรองเจ้าคณะจังหวัดกาญจนบุรี การแต่งตั้งจึงทรงให้ได้สัมผัสชื่อในเมืองกาญจน์ครั้งนั้นดังนี้
วิสุทธิรังสี    (วัดใต้)   พระราชาคณะ เจ้าคณะเมืองกาญจนบุรี  หลวงปู่เปลี่ยน
สิงคีคุณธาดา  (วัดบ้านทวน)  รองเจ้าคณะเมืองกาญจนบุรี  หลวงปู่ม่วง
จริยาภิรัต   (วัดหนองขาว) เจ้าคณะแขวงวังขนาย (ท่าม่วง) หลวงพ่อยันต์
ยติวัตรวิบูลย์ (วัดศรีโลหะราษฏร์บำรุง)  เจ้าคณะหมวด (ตำบล) หลวงพ่อพรต
อดุลย์สมณกิจ  (วัดเหนือ)  เจ้าคณะแขวงท่ามะกา  หลวงปู่ดี
นิวิฐสมาจาร   (วัดหนองบัว)  เจ้าคณะแขวงเมือง  หลวงปู่เหรียญ
วัตตสารโสภณ
  (วัดดอนเจดีย์) เจ้าคณะแขวงบ้านทวน  หลวงพ่อดอกไม้

          งานด้านการปกครอง ในสมัยที่ท่านเป็นเจ้าคณะแขวงบ้านทวน วัดในแขวงเขตปกครองมีการปฏิบัติกิจของสงฆ์อย่างเคร่งครัดตามพระธรรมวินัย  ท่านมักออกเยี่ยมเยียนถามไถ่สารทุกข์สุขดิบกับพระวัดต่างๆอยู่เสมอ ปัญหาหน้าที่อันใดที่ประสพพบเห็นท่านมักจะให้ความช่วยเหลืออย่างชาญฉลาด เช่น ครั้งหนึ่งในปี พ.ศ.๒๔๖๗ วัดทุ่งสมอ (ชื่อเดิมวัดจันทาราม) ขาดสมภารผู้ปกครองวัด หลวงพ่อดอกไม้กับพระครูอดุลย์สมณกิจ (หลวงพ่อดี) พร้อมด้วยทายกบ้านทุ่งสมอ เห็นพร้องต้องกันร่วมเชิญพระปลัดหรุง (รุ่งเช้า) มาเป็นเจ้าอาวาสสืบต่อ ท่านองค์นี้เก่งงานด้านวินัยปฏิบัติและงานด้านการปกครองสงฆ์อย่างยิ่ง  ดังเห็นได้จากการก่อสร้างเสนาสนะหลายอย่างเกิดขึ้นที่วัดทุ่งสมอในช่วงเวลาดังกล่าว เป็นต้น

         ในสมัยหลวงพ่อดอกไม้ยังมีชีวิตอยู่นั้น ท่านเป็นที่เคารพรักใคร่ของบุคคลโดยทั่วไป ชื่อเสียงเกียรติคุณของท่านเป็นที่รู้จักเลื่อมใสของบุคคลต่างถิ่นเป็นอย่างดี  ท่านเป็นคนเข้มแข็งเด็ดขาด  พวกที่ประพฤติตัวไม่เหมาะสมเกรงกลัวท่านมาก ทุกครั้งที่มีงานวัดไม่ต้องใช้ตำรวจมาคุมงานแต่อย่างใด ท่านจะเดินคุมงานของท่านตลอด  หากมีพวกขี้เมากินเหล้ากันอยู่ แค่เห็นหลวงพ่อดอกไม้เดินมาก็จะพากันเลิกวง และหายเมาทันที 





ผลงานที่หลวงพ่อสร้างไว้ในสมัยที่ท่านยังมีชีวิตอยู่ มีมากมายหลายอย่าง  อาทิเช่น
๑. หมู่กุฏิสงฆ์ 
๒. พระอุโบสถ (หลังเก่า)
๓. ขุดสระน้ำสำหรับอุปโภคบริโภค มีด้วยกัน ๓ สระ คือ สระเก่า (อยู่ทิศใต้), สระดอกบัว (อยู่กลาง) และสระตาปาน (อยู่ทิศเหนือ) ปัจจุบันถูกขุดรวมเป็นสระเดียวกันเรียกว่า สระวัด
๔.  ศาลาการเปรียญ (หลังเก่า) 
๕.  หอระฆัง    (หอระฆังนี้เดิมสร้างด้วยไม้ ปัจจุบันชำรุดไปหมดแล้ว และได้สร้างขึ้นมาทดแทนใหม่)   
อนึ่งในคราวสร้างหอระฆังนั้นท่านได้สร้างรูปถ่ายขนาดใส่กรอบบูชา และ ขนาดเล็ก (ล็อกเกต) ประกบด้วยกระจกเลี่ยมกรอบเงินชนิดแขวนคอ เพื่อแจกให้ผู้มีจิตศรัทธา ซึ่งปัจจุบันเป็นที่แสวงหาของบุคคลโดยทั่วไป ด้วยมีประสบการณ์ต่างๆด้านอิทธิปาฏิหาริย์สูงยิ่งมากมาย               

           ในปี พ.ศ.๒๔๖๕  หลวงพ่อดอกไม้ยังได้เป็นผู้ริเริ่มจัดตั้งโรงเรียนขึ้น เนื่องจากเห็นว่าชาวบ้านดอนเจดีย์และหมู่บ้านใกล้เคียงส่วนใหญ่ยังไม่ได้รับการศึกษา ประกอบกับสถานที่ศึกษาอักษรสมัยยังไม่แพร่หลายจึงมีเจตนาให้ วัดเป็นโรงเรียน อาศัยศาลาการเปรียญชั่วคราว
ช่วงเดือนเมษายนของปี พ.ศ.๒๔๖๕  หลวงพ่อดอกไม้ได้ร่วมงานการพระศพของ สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรม พระยาวชิรญาณวโรรส  (สมเด็จพระสังฆราช ลำดับองค์ที่๑๐)  ซึ่งสิ้นพระชนม์เมื่อวันอังคารที่ ๒ สิงหาคม พ.ศ.๒๔๖๔  มีการจัดงานพระราชทานเพลิงพระศพที่เมรุท้องสนามหลวง กรุงเทพมหานคร วันอาทิตย์ที่ ๙ เมษายน พ.ศ.๒๔๖๕ ในงานคราวนั้นได้รับตาลปัตรเป็นที่ระลึก

           จากคำบอกเล่าของปู่จุ่น สอนใจ เกิดปี พ.ศ.๒๔๕๘ ปัจจุบันท่านอายุ ๙๒ปี เป็นเด็กวัดลูกศิษย์ของหลวงพ่อดอกไม้คนหนึ่ง มีโอกาสรับใช้ติดตามหลวงพ่ออยู่นานเกือบ ๑๐ปี เล่าให้ฟังว่า วัดดอนเจดีย์สมัยแรกๆยังจนอยู่ แม่ของปู่จุ่น สอนใจ (ปัจจุบันเสียชีวิตแล้ว)   เคยเล่าให้ฟังว่าช่วงที่เป็นสาวๆ วัดดอนเจดีย์ซึ่งมีอาจารย์ด้วงเป็นเจ้าอาวาสกำลังก่อสร้างพระอุโบสถ ชาวบ้านหนุ่มสาวต่างพากันมาช่วยกระทุ้งพื้นดินใต้โบสถ์ให้แน่น การก่อสร้างพระอุโบสถมาแล้วเสร็จในสมัยหลวงพ่อดอกไม้เป็นเจ้าอาวาส จากนั้นไม่นานหลวงพ่อได้ริเริ่มก่อตั้งโรงเรียนสอนหนังสือให้กับชาวบ้าน     ใช้ศาลาที่ทำบุญซึ่งมีลักษณะเป็นเรือนเสาไม้มุงหลังคาด้วยหญ้าแฝกเหมือนเรือนทั่วๆไปเป็นที่เรียนเขียนอ่านการเรียนสมัยนั้นไม่ได้หยุดวันเสาร์อาทิตย์อย่างสมัยนี้   จะไปหยุดก็วันโกนกับวันพระเท่านั้นเพราะต้องใช้ศาลาทำบุญ          ไม่กี่ปีหลวงพ่อได้คิดริเริ่มสร้างศาลาการเปรียญขึ้นใหม่ให้ถาวรทดแทนอาคารหลังมุงแฝกเดิม ด้วยทุนปัจจัยที่มีอยู่น้อยประกอบกับการก่อสร้างต้องใช้เงินมาก  หลวงพ่อพร้อมด้วยพระลูกวัด ๓ รูป คือ พระแช่ม(บ.หนองขุย), พระคลาย (บ.หนองขุย), พระรุน(บ.ดอนเจดีย์) และลูกศิษย์วัดอีก ๓ คน คือ ด.ช.ไพร(บ.หัวรัง) , ด.ช.ทิพย์(บ.หนองขุย) , ด.ช.จุ่น(ปู่จุ่น บ.ดอนเจดีย์) ได้ออกเดินทางเพื่อหาเงินมาสร้างศาลา   ด้วยเกวียน ๒ เล่ม วัว ๔ ตัว พร้อมวัตถุมงคลของหลวงพ่อใส่ย่ามพระ เช่น เครื่องรางคาดเอว  เครื่องรางกำไลข้อมือ   ลูกอมลงรัก และเหรียญ   ก่อนออกเดินทางหลวงพ่อเรียกลูกศิษย์วัดทั้ง ๓ คน   มารับเหรียญกับมือท่านเพื่อพกติดตัวป้องกันภยันตรายภัยร้ายต่างๆที่อาจเจอกลางป่าดงพงไพร  ก่อนเคลื่อนขบวนจากวัดไปหาเงินตั้งแต่แถวๆห้วยกระเจา เลาขวัญ เข้าเขตสุพรรณ ผ่านบ้านหนองโคก โยกเข้าบ้านบางข่อยบางงาม ตามด้วยบ้านคอตันแถวๆอำเภอสามชุก  หยุดที่อำเภอบางปลาม้า   ขากลับผ่านบ้านบางพลับ  แวะพักสระยายโสม  แล้วหาญาติโยมที่จรเข้สามพัน  ใช้เวลาเดินทางร่วมเป็นแรมเดือนค่ำมืดที่ใดก็ค้างคืนที่นั้น บางสถานที่ญาติโยมศรัทธาขอฝากลูกหลานให้ติดสอยห้อยตาม มาเล่าเรียนวิชาอยู่กับหลวงพ่อที่วัด เช่น ห้วยกระเจาฝากเด็กมา ๓ คน ชื่อ ด.ช.อ๋อ , ด.ช.เริน และ ด.ช.งา  บ้านบางพลับฝากมา ๑ คน ชื่อ  ด.ช.ใหม่      ที่บ้านบางข่อยบางงามนั้นหลวงพ่อได้พบเหตุการณ์เด็กระลึกชาติได้ (กลับชาติมาเกิด) เมื่อมีพ่อแม่คู่หนึ่งนำบุตรชายวัย ๙ ขวบมาหาหลวงพ่อ บอกบุตรชายตนคนนี้พูดจาแปลกๆชอบกลอยู่บ่อยนักว่า ?ตนไม่ใช่พ่อแม่ที่แท้จริง?     อยากให้หลวงพ่อช่วยขันแก้แปลความหมาย  เรียกเด็กน้อยเข้ามาตั้งจิตอธิฐานจึงทราบความเป็นมาว่า   ครั้งชาติปางก่อนเด็กผู้นี้เคยถูกแทงตาย   มีตำหนิแววแผลที่ชายโครงซ้ายในตัวเด็กพร้อมพาหลวงพ่อเดินทางไปดูบ้านเกิดตนเมื่อชาติก่อนซึ่งอยู่ไม่ไกลนัก     ได้พบพ่อแม่ที่แท้จริง (ยังมีชีวิตอยู่) เด็กชี้ให้ดูห่อผ้ายันต์บนเฉลียงบ้านที่ตนเก็บไว้ก่อนตายเป็นเครื่องพิสูจน์อีกครั้ง  เจ้าของบ้านทั้งสองยอมรับว่า บุตรชายโดนแทงตายหลายสิบปีนานมาแล้ว ครั้นทราบความจริงถึงกับดีใจที่ลูกชายตนกลับมาเกิดใหม่็ก็เรื่องราวจักเป็นเช่นนี้แล  ตอนที่หลวงพ่อเดินทางผ่านชุมชนต่างๆชาวบ้านที่ทราบข่าวต่างพากันออกมาหาหลวงพ่อกันแน่นเต็มเกือบทุกๆสถานที่ที่ท่านพักแรม  ทั้งอาหารหวานคาวราวกับคอยท่านมา  ครั้นก่อนออกเดินทางไปอีกหมู่บ้านก็จะมีคนนำข่าวไปบอกชาวบ้านล่วงหน้าเป็นอาจิณ  คนแถวนี้รู้จักหลวงพ่อดอกไม้เป็นอย่างดีมิมีแปลก   ท่านมีวัตถุมงคลเครื่องรางของแจกจนญาติโยมโผเข้าหา  ได้เงินมาจากการร่วมทำบุญประมาณ ๒๐๐๐ กว่าบาท (เป็นเงินชนิดเหรียญทั้งหมด)   เงินสมัยก่อนถือว่ามากโขสร้างศาลาหลังโตได้หนึ่งหลังอย่างที่เห็น สร้างในสมัยรัชกาลที่ ๗  ปี พ.ศ. ๒๔๗๑ (ภายในปีเดียวแล้วเสร็จ)    ยามว่างจากการปฏิบัติกิจของสงฆ์ปลุกเสกวัตถุมงคลท่านมักชอบเล่นกระดานหมากรุกกับ   ตาพร้อม (บ.ดอนเจดีย์) ตาเปีย (บ.ดอนเจดีย์)  และ ตาพาด    (บ.น้อย) เป็นอย่างยิ่ง    หลวงพ่อท่านดุมากเป็นที่เกรงกลัวของผู้คนโดยทั่วไปรวมถึงพระในวัดแขวงเขตปกครองบ้านทวน (ปัจจุบันนี้ได้แก่ พื้นที่เขตอำเภอพนมทวน , อำเภอเลาขวัญกิ่งอำเภอห้วยกระเจา)  ต้องยกมือไหว้ตัวตรงมือห้ามตก  ส่วนพระ เณร และเด็กวัดของท่าน หลังเลิกเรียนต้องอยู่ดายหญ้าที่วัดจนเหี้ยนเตียนหมด หญ้าสักต้นก็ไม่มีให้เห็นในเขตลานวัดเนื้อที่ตั้งหลายไร่ ตอนที่หลวงพ่อเดินไปไหนมาไหนท่านเดินเหินได้เร็วผิดคนปกติแลดูแปลกชอบกล สมัยนั้นในย่านนี้เขตนี้หลวงพ่อดอกไม้กับหลวงพ่อม่วง (วัดบ้านทวน) มีชื่อเสียงโด่งดังมาก มีลูกศิษย์ลูกหามากมาย  ยังจำได้ว่าตอนเป็นลูกศิษย์วัด  หลวงพ่อดอกไม้ท่านใช้ผ้าจีวรเก่าฉีกออกมาถักทำเป็นหัวแหวนมีสายคล้อง สำหรับใส่ต้นแขน (ไม่ใช่นิ้วมือ) ลงวิชาคงกระพันชาตรีทำเป็นเครื่องรางของขลังเก่งมาก คนแถวนี้ต้องมีใส่เกือบทุกคน  ด้วยนิสัยที่ท่านเป็นพระดุวัตถุมงคลของท่านจึงมักเก่ง จีวรถักของหลวงพ่อดอกไม้กับแหวนพิรอดของหลวงปู่ม่วง (วัดบ้านทวน) โยนใส่กองไฟ ไฟก็ไม่ไหม้ทั้งคู่ และยังมีหวายใส่คาดเอวอันนี้ก็เก่งฟันแทงไม่เข้า  ตอนนี้คงหาไว้ครอบครองยากมาก ปู่จุ่น สอนใจ กล่าวทิ้งท้าย

           ปู่เจือ รอดคำ   ท่านเป็นชาวบ้านน้อย ตำบลดอนเจดีย์ เกิดปี พ.ศ.๒๔๕๙ ปัจจุบันอายุ ๙๑ปี เล่าให้ฟังว่าตอนเป็นเด็กได้มาเล่าเรียนหนังสือที่วัดดอนเจดีย์สมัยหลวงพ่อดอกไม้  หลวงพ่อฉลาดและเอาใจใส่ในหลายๆเรื่องแม้นกระทั่งเรื่องการดายหญ้า สมัยนั้นไม่มีจอบเสียม หลวงพ่อได้นำกระดูกวัว (ส่วนสะโพก) ที่ชาวบ้านทิ้งแล้วนำมาดัดแปลงทำเป็นเสียมสำหรับแจกจ่ายให้กับเด็กดายหญ้าหลายสิบเล่ม    ส่วนกุฏิของหลวงพ่อดอกไม้เดิมทีตั้งอยู่บริเวณทิศตะวันตกของเขตวัด (ตรงบริเวณศาลาการเปรียญหลังใหม่ในปัจจุบัน)  หลังจากสิ้นบุญหลวงพ่อชาวบ้านได้ทำการลากแครกุฏิไปอยู่ที่ใหม่ (ปัจจุบันคือกุฏิไม้ฝั่งโรงลิเก)

          ในปี พ.ศ.๒๔๗๖ หลวงพ่อดอกไม้ เริ่มป่วยด้วยโรคชรา และได้มรณภาพด้วยอาการสงบ รวมอายุได้ ๗๓ปี พรรษา ๕๒   ทางพระผู้ใหญ่พร้อมคณะศิษยานุศิษย์ได้ตั้งพระศพบำเพ็ญกุศลนานหลายเดือน ก่อนฌาปนกิจศพเดือน ๔ ของปีนั้น มีพระเกจิร่วมประชุมเพลิงมากมาย (ที่ปู่หว่าจำได้)  อาทิเช่น หลวงปู่เปลี่ยน(วัดใต้ เจ้าคณะจังหวัด)   ,  หลวงปู่ดี(วัดเหนือ รองเจ้าคณะ)  ,  หลวงปู่เหรียญ(วัดหนองบัว)  ,  หลวงพ่อพรต(วัดศรีโลหะฯ) , หลวงพ่อยันต์(วัดหนองขาว) , หลวงพ่อหัง(วัดเหนือ) ,       หลวงพ่อสอน(วัดลาดหญ้า) , พระภิกษุจากวัดต่างๆ และ ประชาชนสานุศิษย์มากมายหลั่งไหลเต็มลานวัด จนแหวนมงคลที่ทางพระผู้ใหญ่นำมาแจกจ่ายหลายถาดไม่เพียงพอ  การประชุมเพลิงแบบโบราณคราวนั้น(ใกล้กับต้นจันฝั่งทิศตะวันตกของเขตวัด) ต้องแยกกระดูกออกมาบรรจุลังไม้ประชุมเพลิงต่างหาก    ขณะเพลิงกำลังลุกไหม้มีลูกไฟสีม่วงตกจากฝากฟ้าเป็นที่น่าอัศจรรย์ยิ่ง   แม้สังขารท่านจะจากไปแต่เกียรติคุณความดีงามของท่านยังเป็นที่กล่าวขวัญถึงกันเรื่อยมาจนทุกวันนี้  เงินที่เหลือจากการจัดงานศพได้นำมาสร้างอาคารเรียน ซึ่งเดิมอาศัยศาลาวัดโดยสร้างอาคารเรียนขนาด ๑๐ x ๒๐ เมตร  เป็นอาคาร ๒ ชั้น ใต้ถุนสูงหลังแรก (บริเวณสนามกีฬาฟุตบอล) และได้ตั้งชื่อโรงเรียนขึ้นมาใหม่ว่า ?โรงเรียนวัดดอนเจดีย์?  (วัตตสารโสภณ)    ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๕๐๑ ทางโรงเรียนมีการปรับปรุงบริเวณสถานที่ จึงได้ทำการรื้อถอนอาคารแล้วปลูกสร้างขึ้นมาใหม่เป็นอาคารชั้นเดียว


  เมื่อพระครูวัตตสารโสภณ (หลวงพ่อดอกไม้) มรณภาพลง พระอุปัชาฌาย์หรุง รุ่งเช้า เจ้าอธิการวัดทุ่งสมอ ดำรงสมณศักดิ์ตำแหน่งเจ้าคณะแขวงอำเภอบ้านทวนสืบต่อจากหลวงพ่อ   เมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๑๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ และ หลวงพ่อก้าน (วัดใต้) ท่านได้รับราชทินนามพระครูวัตตสารโสภณ (ก้าน) ลำดับต่อจากหลวงพ่อดอกไม้
          วัดดอนเจดีย์ หลังจากหลวงพ่อดอกไม้มรณภาพแล้วได้มีเจ้าอาวาสปกครองวัดเรื่อยมาตามลำดับดังนี้
          -พระใบฎีกากรึก
          -พระอธิการพรหม
          -พระอธิการเปาะ  ธรรมโชติ พ.ศ. - ๒๔๘๗
          -พระครูห่วง ธรรมปาโล พ.ศ.๒๔๘๙ - ๒๕๑๒
          -พระมหาแอ่ม ธฺติวณฺโน พ.ศ.๒๕๑๓ - ๒๕๑๘
          -พระครูโสภณกาญจนกิจ(ประยูร) ปสนฺโน พ.ศ.๒๕๑๙ - ๒๕๓๔
          -พระอาจารย์ชล ถาวโร พ.ศ.๒๕๓๖ - ๒๕๓๘
          -พระสมุห์สมพงษ์ กิจจฺสาโร พ.ศ.๒๕๓๙ - ปีปัจจุบัน

พระครูเทพสิทธิเทพาธิบดี (ทับ อินโชติ) วัดสุวรรณาราม (วัดทอง) บางกอกน้อย กทม.

พระครูเทพสิทธิเทพาธิบดี (ทับ อินโชติ) วัดสุวรรณาราม (วัดทอง)
บางกอกน้อย กทม.
พระปิดตาที่ขึ้นชื่อลือชามากในวงการพระเครื่องบ้านเรา นอกจากพระปิดตา
หลวงปู่เอี่ยมวัดหนังธนบุรี กทม. แล้ว ก็ต้องกล่าวถึงพระปิดตาหลวงพ่อทับ วัดทอง
กทม. ควบคู่กันไปทั้งสองสำนักเลยทีเดียว เพราะถือว่าเป็นพระปิดตาที่มีความนิยม
แสวงหากันมากมาโดยตลอด หากแต่พระปิดตาของวัดหนังนั้นสร้างออกมาหลาย
เนื้อหาด้วยกัน แต่ของวัดทองส่วนมากจะเป็นเนื้อสำริดที่มีศิลปะงดงามยิ่งวัดทอง หรือ วัดสุวรรณาราม เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร มีนักสะสม
พระเครื่องน้อยคนนักที่จะไม่รู้จักวัดนี้ ที่ไม่รู้จักอาจเป็นด้วยเพิ่งแรกก้าวเข้ามาสู่วงการ
สังสรรค์ แต่คนที่ผ่านเส้นทางมาอย่างยาวนานย่อมสดับรับฟังถึงเรื่องราว ของ
พระปิดตามหาอุตม์ วัดทอง มาแล้ว และอาจมีอยู่ในความครอบครองเสียด้วยซ้ำไป
แต่หลายคนที่ได้ชื่นชมเพียงภาพถ่าย หรืออาจจะได้สัมผัสกับพระองค์จริง จาก
เจ้าของที่สนิทสนมกันเท่านั้น โดยไม่อาจที่จะเป็นเจ้าของพระปิดตามหาอุตม์
ได้ด้วยเหตุผลนานาประการวัดทอง (วัดสุวรรณาราม) เป็นวัดโบราณที่มีประวัติความเป็นมาตั้งแต่ครั้ง
กรุงศรีอยุธยาเดิมมีชื่อว่า วัดทอง แต่ก็ไม่ปรากฏหลักฐานการสร้างว่าเป็นผู้ใด
สร้างวัดแห่งนี้ แต่ได้รับการบูรณะปฏิสังขรณ์เรื่อยมาโดยเฉพาะในครั้งรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ทรงโปรดเกล้าฯ ให้รื้อวัดทองเสียแล้ว
สถาปนาขึ้นใหม่ทั่วทั้งพระอารามสร้างพระอุโบสถเก๋งด้านหน้า วิหารกำแพงแก้ว
และอื่นๆ เมื่อสถาปนาแล้วเสร็จจึงพระราชทานนามใหม่ว่า "วัดสุวรรณาราม"
นอกจากนี้ สมเด็จกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาทรงมีพระราชศรัทธาสร้างเครื่องเป่าช้าขึ้นคือ เมรุ สร้างหอสวดมนต์
หอทิ้งทานโรงโขน โรงหุ่น ระทา และพลับพลา โรงครัวพร้อมทุกอย่างถวายเป็นสมบัติของพระบรมมหาราชวัง สำหรับ
พระราชทานเพลิงศพอีกส่วนหนึ่งในยุครัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 โปรดเกล้าฯ ให้มีงานฉลองวัดสุวรรณาราม เมื่อ
พ.ศ.2374 ซึ่งโปรดเกล้าฯ ให้ฉลองพร้อมกันรวม 9 พระอาราม คือวัดราชโอรส ที่ทรงบรูณะปฏิสังขรณ์มาตั้งแต่รัชกาลที่ 2
มาสำเร็จในปีนั้น และอีก 8 พระอาราม คือ วัดสระเกศ วัดราชสิทธาราม วัดอรุณราชวราราม วัดภคินีนาถ วัดโมลีโลกยาราม
วัดระฆังโฆสิตาราม วัดพระยาทำ และวัดสุวรรณราม ทั้งหมดบูรณะสำเร็จบ้าง ยังค้างคาอยู่บ้าง ซึ่งก็โปรดให้ฉลองพร้อมกันสำหรับ วัดทอง (วัดสุวรรณาราม) แล้วนั้น ความโด่งดังและมีชื่อเสียงของวัดแห่งนี้นอกเหนือจากความงดงามในคุณค่า
ของ "จิตรกรรมฝาผนัง" ในพระอุโบสถ อันเป็นผลงานของจิตรกรเอกในสมัยรัชกาลที่ 3 คือ ครูทองอยู่และครูคงเป๊ะ แล้ว
ชื่อเสียงของวัดทอง หรือวัดสุวรรณารามยังคงเป็นที่รู้จักกันสำหรับนักสะสมพระเครื่อง โดยผ่านทางพระพิมพ์หรือ "พระเครื่อง"
อีกส่วนหนึ่งและความโด่งดังจากส่วนนี้ นำมาจาก "พระปิตตามหาอุตม์ยันยุ่ง"เป็นพระปิดตาที่สร้างขึ้นโดยอดีตเจ้าอาวาสวัดรูปที่ 9 คือ พระครูเทพสิทธิเทพาธิบดี (ทับ อินทโชติ) เกิดในตระกูล
ปัทมานนท์ เมื่อวันเสาร์ ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 7 ปีมะแม ตรงกับวันที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2390 ที่บ้านคลองชักพระ บางกอกน้อย
ฝั่งธนบุรีเป็นบุตรคนโตในจำนวนพี่น้อง 4 คน ของนายทิม ปัทมานนท์ และนางน้อย ปัทมานนท์ ได้บรรพชาเป็นสามเณร
เมื่ออายุได้ 18 ปี อยู่ศึกษาในสำนักพระปลัดแก้ว วัดทอง และเข้ารับการอุปสมบทเป็นพระภิกษุเมื่ออายุได้ 20 ปี เมื่อปี
พ.ศ. 2411 ที่วัดช่างเหล็ก บางกอกน้อย ฝั่งธนบุรี โดยมีพระอธิการม่วง เป็นพระอุปชัฌาย์ พระปลัดแก้ว วัดทอง และ
พระอาจารย์พึ่ง วัดรวก เป็นพระคู่สวด ได้รับฉายาว่า "อินทโชติ"และได้เข้าจำพรรษาที่ วัดทอง หรือ วัดสุวรรณราม ต่อมาในปี พ.ศ. 2450 ได้รับตำแหน่งเจ้าอาวาสสืบต่อมา
จากพระครูวิมลปัญญา (เนียม) เป็นเจ้าอาวาสเพียง 5 ปี ก็มรณภาพลงเมื่อวันที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2455 รวมอายุได้ 66 ปี
พรรษาที่ 45อย่างไรก็ตามมรดกของหลวงพ่อทับ อินทโชติ ที่ได้ทิ้งไว้ในคนรุ่นหลังได้รำลึกถึงท่าน อันเป็นที่รู้จักกันดีของนักสะสม
พระเครื่อง และผู้ที่สนใจพระเครื่องทั้งหลาย คือ พระปิดตามหาอุตม์ ซึ่งมีทั้งเนื้อสำริดเงิน เนื้อชินตะกั่ว เนื้อเมฆพัด เนื้อสำริด
แบบขันลงหิน เนื้อผงคลุกรัก และเนื้อแร่บางไผ่อีกด้วย ซึ่งถือได้ว่าเป็นเนื้อพิเศษมากที่พบเห็นได้น้อยองค์หายาก ด้วย
หลวงพ่อทับ อินทโชติ ได้เนื้อแร่บางไผ่มาจาก หลวงปู่จัน วัดโมลี จังหวัดนนทบุรี เจ้าของและต้นฉบับพระปิดตาแร่บางไผ่
แห่งเมืองนนทบุรีนั่นเองมนต์เสน่ห์ของพระปิดตาหลวงพ่อทับ วัดทอง เนื้อสำริด กทม. ถือได้ว่าเป็นพระปิดตาเพียงสำนักเดียว ที่มีพิธีการสร้าง
อย่างปราณีตที่สุด และเป็นการสร้างขึ้นมาจากแม่พิมพ์และองค์พระเท่านั้นทำให้ไม่มีองค์ไหนเลยที่จะเหมือนกัน นอกจาก
จะมีความใกล้เคียงกันทางด้านพิมพ์ทรงเท่านั้น แต่สามารถพิจารณาได้ว่า เป็นงานช่างเดียวกันและเนื้อหาเป็นหลักสำคัญ
ในการพิจารณาพระแท้หรือพระปลอม แต่หากผู้ที่มีความชำนาญแล้วสามารถบ่งบอกได้อย่างชัดเจน ว่าพระปิดตาองค์ไหน
แท้หรือปลอมได้อีกด้วย
พระปิดตาอันโด่งดังของหลวงพ่อทับถูกจัดอยู่ในชุด "เบญจภาคีมหาอุตม์" พระปิดตามหาอุตม์ที่สร้างขึ้นด้วยเนื้อโลหะ
เป็นการสร้างขึ้นด้วยการปั้นหุ่นขี้ผึ้งทีละองค์ จากนั้นจึงปั้นด้วยยันต์ขึ้นมาเบ้าหล่อพระปิดตาวัดทอง ทำแบบเบ้าหล่อละลายตัว
หุ่นขี้ผึ้งจะละลายไปด้วยเมื่อเทโลหะหลอมลงไปในเบ้าทีละเบ้า จึงทำให้พุทธลักษณะขององค์พระจะออกมาไม่เหมือนกัน
แบบฝาแฝดแต่จะมีลักษณะ คล้ายคลึงกันได้บางในบางองค์เท่านั้น ในทำเนียบเบญจภาคีมหาอุตม์ บรรจุพระปิดตามหาอุตม์
หลวงพ่อทับ อินทโชติ ไว้คือ พระปิดตาพิมพ์ยันต์ยุ่งเศียรบาตร และพระปิดตาพิมพ์ยันต์น่อง แต่ความจริงแล้ววงการแบ่งแยก
พิมพ์ทรงพระปิดตาหลวงพ่อทับไว้อีกหลายพิมพ์ทรงคือ พิพม์ชะลูด พิมพ์นั่งยอง พิมพ์ภควัม พิมพ์หัวบายศรี พิมพ์ตุ๊กตา
ยันต์น่อง พิมพ์นั่งบัวเศียรแหลม ฯลฯ
พระปิดตามหาอุตม์ พิมพ์ยันต์ยุ่ง เป็นพระปิดตานั่งสมาธิเพชร ขาไขว้ บางองค์มีพระกร 3 คู่ บางองค์มีถึง4 คู่ โดยคู่แรก
ยกขึ้นปิดพระพักตร์ คู่ที่สองยกมือขึ้นปิดพระกรรณ คู่ที่สามล้วงลงปิดทวารหนักและทวารเบา คู่ที่สี่ปิดพระนาภี(สะดือ)
ทางด้านลักษณะขององค์พระที่ปิดตานั้นมีทั้งในลักษณะต้อ บางองค์ก็มีพระชานุ (เข่า) ที่กว้างขณะเดียวกันกับใน
บางองค์ ก็เป็นแบบพระชานุ (เข่า) แคบ ซึ่งเรียกขานแยกเป็นพิมพ์ได้ว่า พิมพ์ยันต์ยุ่งเศียรโต พิมพ์ยันต์ยุ่งต้อเข่ากว้าง
พิมพ์ยันต์ยุ่งชะลูดเข่าแคบ พิมพ์ตุ๊กตา และในพระปิดตาพิมพ์ยันต์ยุ่งนี้หากพิมพ์ใดหรือพระองค์ใด มีอักขรขอมปรากฏ
ตรงพระเพลา (ขาและแข้ง) จะเป็นพิมพ์ทรงอีกพิมพ์หนึ่งที่เรียกกันว่า พิมพ์ยันต์น่อง
ด้านหลังองค์พระ ตรงกลางเป็นยันต์เฑาะว์ อุณาโลมหางสะบัดขึ้นด้านบนเศียร หรืออาจเป็นตัวอักขระขอมตัวอื่น
ด้านข้างตัวเฑาะว์อุณาโลม เป็นตัวอุณาโลมขนาบข้าง 2 ตัว ด้านล่างเป็นอักขระว่า "นะ มะ พะ ทะ" ใต้ฐานองค์พระ
เป็นแอ่งลึก
การพิจารณาแบ่งแยกพิมพ์ทรงนั้นพิมพ์นั่งยองถือว่า เป็นพิมพ์หนึ่งที่สวยสดงดงามยิ่งและหาดูชมองค์จริงได้ยากยิ่งนัก
ยิ่งทางด้านเนื้อหาโดยทั่วไปจะออกสีดำนวลๆ สำหรับองค์ที่ไม่เคยผ่านการสัมผัสใช้มาก่อนเลย จะแลเห็นผิวปรอทจับอยู่
ตามซอกมุมองค์พระที่เป็นส่วนลึกอย่างชัดเจนและในด้านความเก่าแล้วเนื้อและปรอทจะแห้งคล้ำคล้ายๆ กับปรอทตาย
ซึ่งถือว่าเป็นหลักสำคัญในการพิจารณาพระปิดตาหลวงพ่อทับ วัดทองกันเลยนะครับ
ส่วนพิมพ์ภควัม พิมพ์ยันต์น่อง พิมพ์ยันต์ยุ่งเศียรบาตร พิมพ์ชะลูด พิมพ์หัวบายศรี พิมพ์ตุ๊กตา พิมพ์นั่งบัวเศียรแหลม
ฯลฯ ถือว่าเป็นพิมพ์ทรงที่มีศิลปะงดงามยิ่งเช่นเดียวกัน หากพระปิดตาหลวงพ่อทับ วัดทอง ได้ผ่านการใช้มาแล้วเนื้อหาจะ
กลับดำทุกองค์ และที่สำคัญพระปิดตาทุกองค์มีหลักสำคัญที่ต้องถือว่าเป็นข้อพิจารณาคือพระทุกองค์จะไม่มีรอยตะเข็บ
ปรากฏอยู่ในด้านหนึ่งให้เห็นเป็นอันขาด เพราะเป็นการสร้างโดยการหล่อทีละองค์แน่นอนย่อมไม่มีตะเข็บให้แลเห็นหาก
พบเห็นพระปิดตาหลวงพ่อทับ วัดทอง องค์ใด ก็ตามมีตะเข็บข้างถือว่าเป็นพระปลอมได้เลยครับ
ในความแตกต่างของ พระปิดตามหาอุตม์ ระหว่าง หลวงพ่อทับ อินทโชติ วัดทอง และพระภาวนาโกศลเถร (เอี่ยม
สุวณฺณสโร) วัดหนัง คือของวัดทองการล้วงปิดทวารนั้น เป็นการล้วงจากด้านในของหน้าตัก ส่วนของวัดหนังจะล้วงลง
ปิดทาวรจากด้านนอกของหน้าตัก แต่ส่วนอื่นๆ ของพิมพ์ทรงอาจจะแลดูคล้ายๆ กันก็เป็นได้นะครับส่วนพิมพ์ที่มีราคาการเช่าหาบูชากันแพงที่สุดเห็นจะเป็น พิมพ์ยันต์ยุ่งเศียรบาตร พิมพ์ยันต์น่อง พิมพ์ยันต์ยุ่งเศียรบาตร
นั้นถือว่าเป็นหลักสากลและมีการปลอมกันมากที่สุด เป็นพิมพ์ที่มีเนื้อหาเข้มข้นเส้นยันต์ลึกคมชัดทุกองค์พิมพ์ทรงนี้ถือว่า
มีการสร้างไว้เป็นจำนวนมากและมีอยู่หลายเนื้อหาด้วยกันคือเนื้อสำริด เนื้อชิน เนื้อเมฆพัดและเนื้อผง พระพิมพ์นี้เศียร
ขององค์พระจะมีลักษณะคล้ายบาตรใส่ข้าวพระและมีทั้งขนาดใหญ่และเล็กอีกด้วย ส่วนพิมพ์ยันต์น่องจะมีลักษณะสำคัญ
ของพิมพ์นี้คือมียันต์คล้ายเลขหนึ่ง อยู่ที่น่องขององค์พระและเป็นที่นิยมแพร่ในวงการ

เป็นพระปิดตามหาอุตม์อีกสำนักหนึ่งที่ขึ้นชื่อลือชามากทางด้านมหาอุตม์หยุดปืนผาหน้าไม้เป็นที่เชื่อกันว่า
สุดยอดเยี่ยมมาตั้งแต่สมัยโบราณกาลกันเลยทีเดียว อีกทั้งมูลค่าในการเช่าหาบูชากันสูงถึงหลักแสนต้นๆ ถึงกลางเลยเดียว
สำหรับพระปิดตาสำนักวัดทองของหลวงพ่อทับแห่งนี้ ที่สำคัญของแท้หายาก เพราะมีจำนวนการสร้างน้อย มีพระปลอม
มากกว่าพระแท้ในวงการพระเครื่องบ้านเรานะครับ 

พระครูวิสุทธิวงศาจารย์ญาณมุนี (หลวงพ่อแช่ม สังฆปาโมกข์) วัดไชยธาราราม (ฉลอง) อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต

พระครูวิสุทธิวงศาจารย์ญาณมุนี (หลวงพ่อแช่ม สังฆปาโมกข์) วัดไชยธาราราม (ฉลอง) อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต

คำขวัญเมืองภูเก็ต
"ไข่มุกอันดามัน สวรรค์เมืองใต้ หาดทรายสีทอง สองวีรสตรี บารมีหลวงพ่อแช่ม"
         ภูเก็ตเป็นจังหวัดหนึ่งของประเทศไทยที่คนทั่วโลกรู้จักชื่อนี้เป็นอย่างดี เป็นเกาะใหญ่เกาะหนึ่ง ที่มีพื้นที่ของเกาะประมาณ 543 ตารางกิโลเมตร สภาพภูมิประเทศน่าเที่ยวน่าพักผ่อนหย่อนใจมีทิวทัศน์อันสวยงามเกินกว่าคำบรรยาย ไม่ว่าจะมองไปบนบก หรือในท้องทะเล แม้แต่เกาะต่างๆ แล้วเหมือนจะทำให้เรามีชีวิตชีวายืนยาวออกไปอีกสักร้อยปี จังหวัดนี้ดีพร้อม สมกับคำขวัญที่ว่า ไข่มุกอันดามัน สวรรค์เมืองใต้ หาดทรายสีทอง สองวีรสตรี บารมีหลวงพ่อแช่ม ไม่มีผิด
         สภาพภูมิอากาศแบบฝนเมืองร้อน มีอากาศอบอุ่น ชุ่มชื่น ลมพัดเย็นสบายตลอดเวลา ทั้งปีมี 2 ฤดูกาลคือ ฤดูร้อนและฤดูฝน ช่วงที่มีอากาศดีที่สุดคือ เดือนพฤศจิกายน ถึงเดือนเมษายน เป็นช่วงที่มีท้องฟ้าแจ่มใส ภาษาของท้องถิ่นจังหวัดนี้เป็นภาษาปักษ์ใต้ ที่มีเอกลักษณะของตนเอง อาชีพของพลเมืองมีทั้งด้านการเกษตรและสวนยางพารา การอุตสาหกรรม เหมืองแร่ ดีบุก การทำยางแผ่นรมควัน การทำปลาบ่น ปัจจุบันมีอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวที่ขยายตัวอย่างกว้างขวางมาก มีโรงแรมที่มีคุณภาพมีมาตรฐาน งานประเพณี ท้าวเทพกษัตรี-ท้าวศรีสุนทร จัดขึ้นทุกปี ตรงกับวันที่ 13 มีนาคมของทุกปีเพื่อรำลึกถึงประวัติศาสตร์ที่สองวีรสตรีสามารถปกป้องเมืองถลางให้รอดพ้นจากข้าศึก
         ภูเก็ตมีอะไรดี? ภูเก็ตก็มีพระคณาจารย์ดี คือหลวงพ่อแช่ม วัดฉลอง พระคุณท่านเป็นผู้เปี่ยมล้นไปด้วยเมตตาธรรมอันสูงส่ง ทรงไว้ด้วยความศักดิ์สิทธิ์ ใครมาเที่ยวเมืองภูเก็ตแล้วไม่ได้ไปสักการบูชาหลวงพ่อแช่ม ก็เหมือนกับไม่ได้ไปเยือนภูเก็ต เขาว่ากันอย่างนั้น  หลวงพ่อแช่ม (พระครูวิสุทธิวงศาจารย์ญาณมุนี) อดีตเจ้าอาวาสวัดฉลอง ภูเก็ต ถึงแม้พระคุณท่านจะได้มรณภาพไปนานแล้วก็ตาม ชื่อเสียงและเกียรติคุณของพระคุณท่านยังตรึงตราตรึงใจอยู่ในความทรงจำของชาวภูเก็ตและชาวไทยทั่วทุกภาค แม้แต่ประชาชนเพื่อนบ้านใกล้เรือนเคียงยังให้ความเคารพเลื่อมใส ศรัทธายิ่ง ดุจดังเทพเจ้าผู้เปี่ยมด้วยเมตตาธรรมอันสูงส่ง ทรงไว้ซึ่งความศักดิ์สิทธิ์นานัปการเมื่อครั้งพระคุณท่านมีชีวิตอยู่มีผู้ศรัทธาและเลื่อมใสท่านมาก ถึงขนาดรุมกันปิดทองที่ตัวท่านจนแลดูเหลืองอร่ามไปทั้งร่าง เฉกเช่นเดียวกับปิดทองพระพุทธรูปบูชา นับเป็นความแปลกประหลาดมหัศจรรย์เป็นอย่างยิ่ง
ประวัติวัดฉลอง
         "วัดฉลอง"เป็นวัดที่มีมาแต่ก่อนเก่า จึงไม่มีท่านผู้ใดทราบประวัติความเป็นมาได้ละเอียดนัก วัดฉลองนี้ตั้งอยู่บริเวณทุ่งนาและป่าละเมาะ
         ทางด้านเหนือของเกาะภูเก็ต ห่างจากตัวเมืองประมาณ 7-8 กิโลเมตร ตามหลักฐานที่ปรากฎมีศาลาเก่าแก่อยู่หลังหนึ่งทางด้านทิศตะวันออก(ของวัดในปัจจุบันนี้) ซึ่งเป็นที่ประดิษฐานขององค์พระปฎิมา จากสภาพขององค์ท่าน นับว่า...เป็นพระพุทธรูปที่สร้างขึ้นมาช้านานแล้ว จนไม่อาจคำนวณอายุที่แน่นอนได้ชาวบ้านฉลองและคนทั่วไปเรียกท่านว่า "พ่อท่านเจ้าวัด" ด้านซ้ายขององค์ท่านมีรูปหล่อของชายชรานั่งถือตะบันหมาก ชาวบ้านเรียกว่า "ตาขี้เหล็ก" ส่วนด้านขวาของ "พ่อท่านเจ้าวัด" นั้น มีรูปหล่อเป็นยักษ์ถือกระบองแลดูน่ากลัว ชาวบ้านเรียกว่า "นนทรีย์" รูปหล่อทั้ง 3 องค์นี้ ท่านศักดิ์สิทธิ์นัก จนเป็นที่โจษขานกันมานานแล้ว
         เจ้าอาวาสวัดฉลององค์แรกท่านเป็นพระเถระองค์ใดนั้น ในประวัติได้บันทึกเอาไว้ ก็เลยไม่ทราบนามท่านเท่าที่ทราบมี "พ่อท่านเฒ่า" ท่านเป็นเจ้าอาวาสวัดฉลององค์ก่อน "หลวงพ่อแช่ม" ท่านเป็นพระที่มีความเชี่ยวชาญทางวิปัสสนากรรมฐานเป็นที่เลื่องลือ เมื่อ"ท่านพ่อเฒ่า" ท่านได้มรณภาพด้วยโรคชราอาพาธ "หลวงพ่อแช่ม" ได้รับตำแหน่งเจ้าอาวาสสืบต่อจาก "พ่อท่านเฒ่า"
         ต่อมา....ท่านได้รับพระราชทานเลื่อมสมศักดิ์ว่าที่เป็น "พระครูวิสุทธิวงศาจารย์ญาณมุนี" ตำแหน่งสังฆปาโมกข์เมืองภูเก็ต และพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ได้ทรงเปลี่ยนชื่อ "วัดฉลอง" เสียใหม่เป็น "วัดไชยธาราราม" แต่ประชาชนโดยทั่วไปมักเรียกว่า "วัดฉลอง" เพราะเป็นชื่อที่คุ้นหูมาก่อน

ชาติกำเนิด-ประวัติย่อ
        
         "หลวงพ่อแช่ม" วัดฉลอง ภูเก็ต ท่านเกิดที่ตำบลบ่อแสน อำเภอทับปุด จังหวัดพังงา เมื่อปีกุน พุทธศักราช 2370 ในรัชสมัยของ"พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว"(รัชกาลที่ 3) (นามโยมบิดา-มารดา) ไม่ปรากฏในประวัติแม้แต่ "หลวงพ่อช่วง" วัดท่าฉลอง ศิษย์เอกของท่านก็ไม่สามารถให้รายละเอียดได้)

หลวงพ่อแช่ม ชาตะ พ.ศ.2370 มรณภาพ พ.ศ.2451
   
         พ่อแม่ส่งให้อยู่ ณ วัดฉลอง เป็นศิษย์ของพ่อท่านเฒ่าตั้งแต่เล็ก เมื่อมีอายุพอจะบวชได้ก็บวชเป็นสามเณร และ ต่อมาเมื่ออายุถึงที่จะบวชเป็นพระภิกษุก็บวชเป็นพระภิกษุจำพรรษาอยู่ ณ วัดฉลองนี้หลวงพ่อแช่มได้ศึกษาวิปัสนาธุระจากพ่อท่านเฒ่าจนเป็นผู้ที่เชี่ยวชาญทางวิปัสนาธุระเป็นอย่างสูง ความมีชื่อเสียงของหลวงพ่อแช่มปรากฏชัดในคราวที่หลวงพ่อแช่มเป็นหัวหน้าปราบอั้งยี่ ซึ่งท่านจะได้ทราบต่อไปนี้

ปราบอั้งยี่

         ในปีพุทธศักราช 2419 กรรมกรเหมืองแร่เป็นจำนวนหมื่น ในจังหวัดภูเก็ต และจังหวัดใกล้เคียงได้ซ่องสุมผู้คนก่อตั้งเป็นคณะขึ้นเรียกว่า อั้งยี่ โดยเฉพาะพวกอั้งยี่ในจังหวัดภูเก็ตก่อเหตุวุ่นวายถึงขนาดจะเข้ายึดการปกครองของจังหวัดเป็นของพวกตน ทางราชการในสมัยนั้นไม่อาจปราบให้สงบราบคาบได้ พวกอั้งยี่ถืออาวุธรุกไล่ ยิง ฟันชาวบ้านล้มตายลงเป็นจำนวนมากชาวบ้านไม่อาจต่อสู้ป้องกันตนเองและทรัพย์สิน ที่รอดชีวิตก็หนีเข้าป่าไป เฉพาะในตำบลฉลองชาวบ้านได้หลบหนีเข้าป่า เข้าวัด ทิ้งบ้านเรือนปล่อยให้พวกอั้งยี่เผาบ้านเรือนหมู่บ้านซึ่งพวกอั้งยี่เผา ได้ชื่อว่า บ้านไฟไหม้ จนกระทั่งบัดนี้
         ชาวบ้านที่หลบหนีเข้ามาในวัดฉลอง เมื่อพวกอั้งยี่รุกไล่ใกล้วัดเข้ามา ต่างก็เข้าไปแจ้งให้หลวงพ่อแช่มทราบ และนิมนต์ให้หลวงพ่อแช่ม หลบหนีออกจากวัดฉลองไปด้วย หลวงพ่อแช่มไม่ยอมหนี ท่านว่า ท่านอยู่ที่วัดนี้ตั้งแต่เด็กจนบวชเป็นพระ และเป็นเจ้าวัดอยู่ขณะนี้ จะให้หนีทิ้งวัดไปได้อย่างไร
         เมื่อหลวงพ่อแช่มไม่ยอมหนีทิ้งวัด ชาวบ้านต่างก็แจ้งหลวงพ่อแช่มว่า เมื่อท่านไม่หนีพวกเขาก็ไม่หนีจะขอสู้มันละ พ่อท่านมีอะไรเป็นเครื่องคุ้มกันตัวขอให้ทำให้ด้วย หลวงพ่อแช่มจึงทำผ้าประเจียดแจกโพกศีรษะคนละผืน เมื่อได้ของคุ้มกันคนไทยชาวบ้านฉลองก็ออกไปชักชวนคนอื่นๆ ที่หลบหนีไปอยู่ตามป่า กลับมารวมพวกกันอยู่ในวัด หาอาวุธ ปืน มีด เตรียมต่อสู้กับพวกอั้งยี่
         พวกอั้งยี่ เที่ยวรุกไล่ฆ่าฟันชาวบ้าน ไม่มีใครต่อสู้ก็จะชะล่าใจ ประมาทรุกไล่ฆ่าชาวบ้านมาถึงวัดฉลอง ชาวบ้านซึ่งได้รับผ้าประเจียดจากหลวงพ่อแช่มโพกศีรษะไว้ก็ออกต่อต้านพวกอั้งยี่ พวกอั้งยี่ไม่สามารถทำร้ายชาวบ้านก็ถูกชาวบ้านไล่ฆ่าฟันแตกหนีไป ครั้งนี้เป็นชัยชนะครั้งแรกของไทยชาวบ้านฉลอง ข่าวชนะศึกครั้งแรกของชาวบ้านฉลอง รู้ถึงชาวบ้านที่หลบหนีไปอยู่ที่อื่น ต่างพากลับมายังวัดฉลอง รับอาสาว่า ถ้าพวกอั้งยี่มารบอีกก็จะต่อสู้ ขอให้หลวงพ่อแช่มจัดเครื่องคุ้มครองตัวให้ หลวงพ่อแช่มก็ทำผ้าประเจียดแจกจ่ายให้คนละผืน พร้อมกับแจ้งแก่ชาวบ้านว่า "ข้าเป็นพระสงฆ์จะรบราฆ่าฟันกับใครไม่ได้ พวกสูจะรบก็คิดอ่านกันเอาเอง ข้าจะทำเครื่องคุณพระให้ไว้สำหรับป้องกันตัวเท่านั้น" ชาวบ้านเอาผ้าประเจียดซึ่งหลวงพ่อแช่มทำให้โพกศีรษะเป็นเครื่องหมายบอกต่อต้านพวกอั้งยี่
          พวกอั้งยี่ให้ฉายาคนไทยชาวบ้านฉลองว่า พวกหัวขาว ยกพวกมาโจมตีคนไทยชาวบ้านฉลองหลายครั้ง ชาวบ้านถือเอากำแพงพระอุโบสถเป็นแนวป้องกัน อั้งยี่ไม่สามารถตีฝ่าเข้ามาได้ ภายหลังจัดเป็นกองทัพเป็นจำนวนพัน ตั้งแม่ทัพ นายกอง มีธงรบ ม้าล่อ เป็นเครื่องประโคมขณะรบกัน ยกทัพเข้าล้อมรอบกำแพงพระอุโบสถ ยิงปืน พุ่งแหลน พุ่งอีโต้ เข้ามาที่กำแพง เป็นที่น่าอัศจรรย์ที่บรรดาชาวบ้านซึ่งได้เครื่องคุ้มกันตัวจากหลวงพ่อแช่มต่างก็แคล้วคลาดไม่ถูกอาวุธของพวกอั้งยี่เลย
         รบกันจนเที่ยงพวกอั้งยี่ยกธงขอพักรบ ถอยไปพักกันใต้ร่มไม้หุงหาอาหาร ต้มข้าวต้มกินกัน ใครมีฝิ่นก็เอาฝิ่นออกมาสูบ อิ่มหนำสำราญแล้วก็นอนพักผ่อนชาวบ้านแอบดูอยู่ในกำแพงโบสถ์ เห็นได้โอกาสในขณะที่พวกอั้งยี่เผลอก็ออกไปโจมตีบ้าง พวกอั้งยี่ไม่ทันรู้ตัวก็ล้มตายและแตกพ่ายไป
         หัวหน้าอั้งยี่ประกาศให้สินบน ใครสามารถจับตัวหลวงพ่อแช่มวัดฉลองไปมอบตัวให้จะให้เงินถึง 5,000 เหรียญ เล่าลือกันทั่วไปในวงการอั้งยี่ว่า คนไทยชาวบ้านฉลองซึ่งได้รับผ้าประเจียดของหลวงพ่อแช่มโพกศีรษะ ล้วนแต่เป็นยักษ์มารคงทนต่ออาวุธ ไม่สามารถทำร้ายได้ ยกทัพมาตีกี่ครั้งๆ ก็ถูกตีโต้กลับไป ในทุกครั้ง จนต้องเจรจาขอหย่าศึกยอมแพ้แก่ชาวบ้านศิษย์หลวงพ่อแช่มโดยไม่มีเงื่อนไข
         คณะกรรมการเมืองภูเก็ต ได้ทำรายงานกราบทูลไปยังพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้คณะกรรมการเมืองนิมนต์หลวงพ่อแช่ม ให้เดินทางไปยังกรุงเทพมหานคร มีพระประสงค์ทรงปฏิสันฐานกับหลวงพ่อแช่มด้วยพระองค์เอง
         หลวงพ่อแช่มและคณะเดินทางถึงกรุงเทพมหานคร พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานสมฌศักดิ์หลวงพ่อแช่ม เป็นพระครูวิสุทธิวงศาจารย์ญานมุนี ให้มีตำแหน่งเป็นสังฆปาโมกข์เมืองภูเก็ต อันเป็นตำแหน่งสุงสุดซึ่งบรรพชิตจักพึงมีในสมัยนั้น
ในโอกาสเดียวกัน ทรงพระราชทานนามวัดฉลองเป็นวัดไชยาธาราราม

บารมีหลวงพ่อแช่ม

         จากคำบอกเล่าของคณะผู้ติดตามหลวงพ่อแช่มไปในครั้งนั้นแจ้งว่ามีพระสนมองค์หนึ่งในรัชกาลที่ 5 ป่วยเป็นอัมพาต หลวงพ่อแช่มได้ทำน้ำพระพุทธมนต์ให้รดตัวรักษา ปรากฏว่าอาการป่วยหายลงโดยเร็วสามารถลุกนั่งได้ อนึ่ง การเดินทางไปและกลับจากจังหวัดภูเก็ตกับกรุงเทพมหานคร ผ่านวัดๆ หนึ่งในจังหวัดชุมพร หลวงพ่อแช่มและคณะได้เข้าพักระหว่างทาง ณ ศาลาหน้าวัด เจ้าอาวาสวัดนั้น นิมนต์ให้หลวงพ่อแช่มเข้าไปพักในวัด แต่ หลวงพ่อเกรงใจและแจ้งว่าตั้งใจจะพักที่ศาลาหน้าวัดแล้วก็ขอพักที่เดิมเถิด เจ้าอาวาสและชาวบ้านในละแวกนั้นบอกว่า การพักที่ศาลาหน้าวัดอันตรายอาจเกิดพวกโจร จะมาลักเอาสิ่งของของหลวงพ่อแช่มและคณะไปหมด หลวงพ่อแช่มตอบว่าเมื่อมันเอาไปได้ มันก็คงเอามาคืนได้ เจ้าอาวาสวัดและชาวบ้านอ้อนวอน หลวงพ่อแช่มก็คงยืนยันขอพักที่เดิม  เล่าว่า ตกตอนดึกคืนนั้น โจรป่ารวม 6 คน เข้ามาล้อมศาลาไว้ ขณะคนอื่นๆ หลับหมดแล้ว คงเหลือแต่หลวงพ่อแช่มองค์เดียว พวกโจรเอื้อมเอาของไม่ถึง หลวงพ่อแช่มก็ช่วยผลักของให้ สิ่งของส่วนมากบรรจุปิ๊บใส่สาแหรก พวกโจรพอได้ของก็พากันขนเอาไป
         รุ่งเช้าเจ้าอาวาสและชาวบ้านมาเยี่ยม ทราบเหตุที่เกิดขึ้นก็พากันไปตามกำนันนายบ้านมาเพื่อจะไปตามพวกโจร หลวงพ่อแช่มก็ห้ามมิให้ตามไป ต่อมาครู่หนึ่ง พวกโจรก็กลับมา แต่การกลับมาคราวนี้หัวหน้าโจรถูกหามกลับมาพร้อมกับสิ่งของซึ่งลักไปด้วย กำนันนายบ้านก็เข้าคุมตัว หัวหน้าโจรปวดท้องจุดเสียดร้องครางโอดโอย ทราบว่าระหว่างที่ขนของซึ่งพวกตนขโมยไปนั้น คล้ายมีเสียงบอกว่า ให้ส่งของกลับไปเสีย มิฉะนั้น จะเกิดอาเพศ พวกโจรไม่เชื่อขนของต่อไปอีก หัวหน้าโจรจึงเกิดมีอาการจุกเสียดขึ้นจนไม่สามารถเดินทางต่อไปได้ เลยปรึกษากันตกลงขนสิ่งของกลับมาคืนหลวงพ่อแช่มสั่งสอนว่า ต่อไปขอให้เลิกเป็นโจรอาการปวดก็หาย กำนันนายบ้านจะจับพวกโจรส่งกรมการเมืองชุมพร แต่หลวงพ่อแช่มได้ขอร้องมิให้จับกุมขอให้ปล่อยตัวไป ไม่เพียงแต่ชนชาวไทยในภูเก็ตเท่านั้นที่มีความเคารพเลื่อมใสในองค์หลวงพ่อแช่ม ชาวจังหวัดใกล้เคียงตลอดจนชาวจังหวัดต่างๆ ในมาเลเซีย เช่น ชาวจังหวัดปีนัง เป็นต้นต่างให้ความคารพนับถือในองค์หลวงพ่อแช่มเป็นอย่างสูง โดยเฉพาะชาวพุทธในจังหวัดปีนัง ยกย่องหลวงพ่อแช่มเป็นเสมือนสังฆปาโมกข์เมืองปีนังด้วย
         การปราบอั้งยี่ในครั้งนั้น เมื่อพวกอั้งยี่แพ้ศึกแล้วก็หันมาเลื่อมใสให้ความเคารพนับถือต่อหลวงพ่อแช่มเป็นอย่างมาก แม้แต่ผู้ซึ่งนับถือศาสนาอื่นก็มีความเคารพเลื่อมใสต่อหลวงพ่อแช่ม เกิดเหตุอาเพศต่างๆในครัวเรือนต่างก็บนบานหลวงพ่อแช่มให้ช่วยขจัดปัดเป่าให้
         ชาวเรือพวกหนึ่งลงเรือพายออกไปหาปลาในทะเลถูกคลื่น และพายุกระหน่ำจนเรือจวนล่มต่างก็บนบานสิ่งศักดิ์ต่างๆ ให้คลื่นลมสงบ แต่คลื่นลมกลับรุนแรงขึ้น ชาวบ้านคนหนึ่งนึกถึงหลวงพ่อแช่มได้ ก็บนหลวงพ่อแช่มว่าขอให้หลวงพ่อแช่มบันดาลให้คลื่นลมสงบเถิด รอดตายกลับถึงบ้านจะติดทองที่ตัวหลวงพ่อแช่ม คลื่นลมก็สงบ มาถึงบ้านก็นำทองคำเปลวไปหาหลวงพ่อแช่ม เล่าให้หลวงพ่อแช่มทราบและขอปิดทองที่ตัวท่าน หลวงพ่อแช่มบอกว่าท่านยังมีชีวิตอยู่จะปิดทองยังไง ให้ไปปิดทองที่พระพุทธรูป ชาวบ้านกลุ่มนั้นก็บอกว่าถ้าหากหลวงพ่อไม่ให้ปิดหากแรงบนทำให้เกิดอาเพศอีก จะแก้อย่างไร ในที่สุดหลวงพ่อแช่มก็จำต้องยอมให้ชาวบ้านปิดทองที่ตัวท่านโดยให้ปิดที่แขนและเท้า ชาวบ้านอื่นๆ ก็บนตามอย่างด้วยเป็นอันมาก พอหลวงพ่อแช่มออกจากวัดไปทำธุระในเมือง ชาวบ้านต่างก็นำทองคำเปลวรอคอยปิดที่หน้าแขนของหลวงพ่อแทบทุกบ้านเรือน จนถือเป็นธรรมเนียม
         เมื่อกรมพระยาดำรงราชานุภาพเสด็จมาจังหวัดภูเก็ตนิมนต์ให้หลวงพ่อแช่มไปหา ก็ยังทรงเห็นทองคำเปลวปิดอยู่ที่หน้าแข้งของหลวงพ่อแช่ม นับเป็นพระภิกษุองค์แรกของเมืองไทยที่ได้รับการปิดทองแก้บนทั้งๆ ที่ยังมีชีวิตอยู่
         แม้แต่ไม้เท้าของหลวงพ่อแช่ม ซึ่งท่านถือประจำกายก็มีความขลัง ประวัติความขลังของไม้เท้ามีดังนี้ เด็กหญิงรุ่นสาวคนหนึ่ง เป็นคนชอบพูดอะไรแผลงๆ ครั้งหนึ่งเด็กหญิงคนนั้นเกิดปวดท้องจุดเสียดอย่างแรง กินยาอะไรก็ไม่ทุเลา จึงบนหลวงพ่อแช่มว่า ขอให้อาการปวดท้องหายเถิด ถ้าหายแล้วจะนำทองไปปิดที่ของลับของหลวงพ่อแช่ม อาการปวดท้องก็หายไป เด็กหญิงคนนั้นเมื่อหายแล้วก็ไม่สนใจ ถือว่าพูดเล่นสนุกๆ ต่อมาอาการปวดท้องเกิดขึ้นมาอีก พ่อแม่สงสัยจะถูกแรงสินบนจึงปลอบถามเด็ก เด็กก็เล่าให้พ่อแม่ฟัง พ่อแม่จึงนำเด็กไปหาหลวงพ่อแช่มหลวงพ่อแช่มกล่าวว่าลูกมึงบนสัปดนอย่างนี้ใครจะให้ปิดทองอย่างนั้นได้
         พ่อแม่เด็กต่างก็อ้อนวอนกลัวลูกจะตายเพราะไม่ได้แก้บน ในที่สุดหลวงพ่อแช่มคิดแก้ไขสถานการณ์เฉพาะหน้าได้โดยเอาไม้เท้านั่งทับสอดเข้าให้เด็กหญิงคนนั้นปิดทองที่ปลายไม้เท้า กลับบ้านอาการปวดท้องจุดเสียดก็หายไป ไม้เท้านั่งทับของหลวงพ่อแช่มอันนี้ยังคงมีอยู่ และใช้เป็นไม้สำหรับจี้เด็กๆ ที่เป็นไส้เลื่อน เป็นฝีเป็นปาน อาการเหล่านั้นก็หายไปหรือชงักการลุกลามต่อไป เป็นที่น่าประหลาด

หลวงพ่อแช่มมรณภาพในปี พ.ศ.2451

         เมื่อมรณภาพ บรรดาศิษย์ได้ตรวจหาทรัพย์สินของหลวงพ่อแช่มปรากฏว่าหลวงพ่อแช่มมีเงินเหลือเพียง 50 เหรียญเท่านั้น ความทราบถึงบรรดาชาวบ้านปีนังและจังหวัดอื่นในมาเลเซีย ต่างก็นำเงิน เอาเครื่องอุปโภคบริโภคที่จำเป็น มีข้าวสาร มีคนมาช่วยเหลือหลายเรือสำเภา งานศพของหลวงพ่อแช่มจัดได้ใหญ่โตมโหฬารที่สุดในจังหวัดภูเก็ต หรืออาจจะกล่าวได้ว่ามโหฬารที่สุดในภาคใต้ บารมีของหลวงพ่อแช่มก็มีมาจนกระทั่งปัจจุบันนี้