วันพุธที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2558

ประวัติพระอาจารย์เสาร์ กันตสีโล (หลวงปู่เสาร์ กันตสีโล

ประวัติพระอาจารย์เสาร์ กันตสีโล (หลวงปู่เสาร์   กันตสีโล)
         หลวงปู่เสาร์   กันตสีโล นามเดิม  เสาร์  เกิดวันที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2502 ที่บ้านข่าโคม ตำบลหนองขอน อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี (ประวัติเกี่ยวกับบิดา-มารดาไม่มีบันทึกไว้)การศึกษาได้ศึกษาอักษรธรรม อักษรขอม อักษรไทยน้อย และหนังสือไทยด้วย อุปสมบทที่วัดใต้ ต่อมาภายหลังท่านได้ญัตติเป็นพระฝ่ายธรรมยุต ที่วัดศรีทอง (วัดศรีอุบลรัตนาราม) อ.เมือง จ.อุบลราชธานี โดยมี พระครูฑา โชติปาโล เป็นพระอุปัชฌาย์ เจ้าอธิการสีทา ชยเสโน เป็นพระกรรมวาจารย์
  
         เมื่อจุลศักราช 1210 (พ.ศ. 2391 ) ปีวอก เอกศก เดือน สิบสอง ขึ้น 10 ค่ำ วันพฤหัสบดี หลวงพ่อทิพย์ เสนา ฉายา ทิพพเสโน นามสกุล แท่นทิพย์ ได้ก่อตั้งวัดเลียบ เดิมเป็นสำนักสงฆ์(สำนักวิปัสสนา) เมื่อหลวงพ่อทิพย์เสนาได้มรณภาพลงเป็นเหตุให้สำนักสงฆ์(สำนักวิปัสสนา) ตั้งไว้ 44 ปี วัดเลียบจึงเป็นวัดร้าง จนมาถึงจุลศักราช 1254 (พ.ศ. 2435 ) พระอาจารย์เสาร์ ได้มาเป็นเจ้าอาวาสวัดเลียบ เมื่อวันอังคาร เดือน เมษายน ขึ้น 1 ค่ำปีมะเส็ง ท่านได้บุกเบิกเสริมสร้างวัดเลียบ พระอาจารย์เสาร์ พร้อมด้วย พระอุบลการประชานิจ (บุญชู) และพระสุรพล ชยากร (อุ่น) ได้ดำเนินการก่อสร้างถาวรวัตถุ มีศาลาการเปรียญ และพระอาจารย์เสารท่านได้ลงมือก่อสร้างพระพุทธรูปก่ออิฐถือปูน หน้าตักกว้าง 2.50 เมตร สูงจากฐานถึงยอดเกศ 3 เมตร ปัจจุบันประดิษฐานภายในอุโบสถวัดเลียบ มีพระนามว่า "พระพุทธจอมเมือง" พระอาจารย์เสาร์ กนฺสีโล ได้ก่อสร้างอุโบสถขึ้นเพื่อประกอบพิธีกรรมทางศาสนา ก่อสร้างด้วยไม้ มีเฉลียงโดย รอบ หลังคามุงสังกะสีมีความกว้าง 8 เมตร ความยาว 12 เมตร เมื่อ พ.ศ. 2439 พระอาจารย์เสาร์ กนฺสีโล พร้อมด้วยท่ายสิทธิสารและเพี้ยเมืองจัน ได้กราบบังคมทูลขอพระราชทานวิสุงคามสีมา ตามพระราชโองการที่ 84/303 ตั้งแต่วันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2439 ร.ศ. 115 ตรงกับปีที่ 29 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชการที่ 5 และได้ผูกพัทธสีมา
         เมื่อพุทธศักราช 2445 เป็นเวลา 10 ปี ที่พระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีโล ได้บุกเบิกสำนักวัดเลียบ และท่านก็ได้ออกธุดงค์ไปในสถานที่ต่างๆ พระอาจารย์เสาร์ ท่านเป็นพระสงฆ์ฝ่ายผู้อาวุโส และเป็นบุคคลที่พูดน้อย ท่านไม่ค่อยจะคลุกคลีกับหมู่คณะเป็นที่ยำเกรงของทุกคนจึงทำให้ขาดการเรียบ เรียงไป พระอาจารย์ กนฺสีโล เป็นพระที่สงบเสงี่ยม กิริยามารยาทอ่อนน้อมสุขุมพูดน้อย จิตใจมีแต่ความเมตตา
อยู่ป่าดงดีกว่า
         พระอาจารย์ผู้สอนกรรมฐานให้แก่พระอาจารย์เสาร์ ไม่ปรากฎนามในประวัติท่าน แต่ได้ปฏิบัติภาวนาได้ไม่นาน ทำให้พระอาจารย์เสาร์ หันมาสนใจในการปฏิบัติอย่างมาก เพราะการปฏิบัติสมาธิดภาวนาเป็นชื่อแห่งความเพียร ที่นักปฏิบัติทั้งหลายในบวรพระพุทธศานาได้ถือเป็นข้อปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ เป็นอย่างยิ่งซึ่งไม่มีข้อปฏิบัติอื่นดียิ่งกว่าพระอาจารย์เสาร์ กนฺสีโล มีความรู้ความเข้าใจขึ้นโดยลำดับแห่งองค์ภาวนา ก็ยิ่งมีความชอบมีความพอใจเป็นพิเศษ ต่อมาท่านมีความคิดอยู่ว่า การที่ท่านปฏิบัติภาวนา อยู่นี้ก็ได้ผลเป็นที่น่าพอใจ แต่ทางที่ดีควรออกไปอยู่ป่าดงหาสถานาที่สงบระงับจากผู้คนพลุกพล่าน จิตใจคงจะสงบลงได้ยิ่งกว่านี้เป็นแน่ ดังนั้นท่านได้ออกธุดงค์มุ่งสู่ป่าทันทีในวันรุ่งขึ้น ความปรารถนาของพระอาจารย์เสาร์ ในการออกป่าดงเพื่อภาวนาและพิจารณาสมาธิธรรมในครั้งนี้ ถ้าแม้เป็นไปจริงดังคำตั้งใจแล้ว เมื่อกลับเข้ามาสู่วัดท่านจะนำความรู้ที่เกิดจากจิตใจเหล่านั้นมาเผยแพร่ฝึกสอนลูกศิษย์ลูกหาที่หวังความพ้นทุกข์อีกต่อไป
  
สำนักวัดเลียบ
         ภายหลังที่ท่านพระอาจารย์ เสาร์ กนฺตสีโล ไปอยู่ดงอยู่ป่า เป็นเวลาอันควรแล้ว ท่านได้กลับออกมาและเปิดสำนักปฏิบัติธรรม ณ วัดเลียบ อำเภอเมืองอุบลฯ เมื่อ พ.ศ. 2435 ในชีวิตพระอาจารย์เสาร์ ท่านได้ฝากจิตใจไว้กับพระพุทธเจ้ามาโดยตลอด ท่านพยายามรวบรวมเขียนหนังสือไว้เล่มหนึ่งชื่อว่า "จตุรารักข์เป็นหนังสือที่พระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีโล ได้บรรจงแต่งไว้เพื่อพวกเรา ที่เป็นพุทธบริษัทควรได้ศึกษา โดยท่านได้แสดงไว้ดังนี้
          1. ให้มนุษย์เราทุกคนรู้จักระลึกถึงคุณพระพุทธเจ้า คือให้เจริญ พุทธานุสสติ
          2. ให้มนุษย์เราทุกคน เมื่อเกิดมาแล้วเข้าใจตนเองว่านับถือพระพุทธศาสนาแล้ว จงให้เจริญเมตตา กรุณา มุฑิตา อุเบกขา เป็นนุสติ
          3. ให้มนุษย์เราทุกคน จงรู้ว่าเมื่อเกิดมาแล้วจงรู้กฎของ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ซึ่งหนีสิ่งเหล่านี้ไปไม่ได้ คือ การเกิด แก่ เจ็บ ตาย จึง ให้เจริญความไม่เที่ยง มีความทุกข์ และไม่ใช่ตัวตนของเรา ฉะนั้นจงเจริญอสุภานุสติ
         4. มนุษย์เราทุกคน จงพิจารณากองทุกข์นับตั้งแต่เกิดมาจนวาระสุดท้าย คือ ความตาย เพราะเราหนีความตายไปไม่ได้จงให้เจริญมรณานุสติ
         ท่านได้ย้ำไว้ในหนังสืออีกว่า " เรื่องของกรรมคนเรานี้ย่อมมีกรรมเป็นของๆตน มีกรรมเป็นผู้ให้ผล มีกรรมเป็นแดนเกิด มีกรรมเป็นผู้ติดตาม มีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย เราทำกรรมใดไว้ เป็นบุญหรือเป็นบาป เมื่อยังมีชีวิตอยู่กรรมนั้นจักเป็นทายาท ให้เราได้รับผลของกรรมนั้นสืบต่อๆไป " นี่เป็นความหมายที่ท่านพระอาจารย์เสาร์ กล่าวเป็นนัยสืบมา
         ภายหลังที่ท่านได้เปิดสำนักปฏิบัติธรรมที่วัดเลียบ อำเภอเมืองอุบลฯ ได้ไม่นาน โคมทองแห่งพระพุทธศาสนาได้ถูกจุดขึ้น เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2436 พระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต ได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนา ณ พัทธสีมาวัดเลียบ อำเภอเมืองอุบลฯ โดยมีพระอริยกวี (อ่อน) เป็นพระอุปัชฌาย์ เจ้าอธิการสีทา ชยเสโน เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระครูประจักษ์อุบลคุณ (สุ้ย) เป็นพระอนุสาวนาจารย์ หลังจากนั้นได้ถวายตัวเป็นศิษย์ และได้อยู่จำพรรษากับพระอาจารย์เสาร์ ได้นำอุบายอันควรให้พระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต น้อมนำจิตใจ บังเกิดความสงบ คือ พุท-โธ และคำบริกรรมนี้ตรงกับจริตของพระอาจารย์มั่นยิ่งนัก ท่านได้ถือเป็นนิสัยที่ชอบกว่าบรรดาบทธรรมอื่นๆและได้บังเกิดความสงบทางจิต ของลูกศิษย์ผู้บวชใหม่นี้
 
         เมื่อออกพรรษา พระอาจารย์เสาร์ ท่านออกธุดงค์ ไปกับพระอาจารย์มั่น ซึ่งสมัยที่ท่านออกบำเพ็ญภาวนาในครั้งนั้นโดยส่วนมาก ไม่ค่อยจะมีใครกระทำหรือปฏิบัติกันเลย เมื่อชาวบ้านเห็นพระธุดงค์ก็จะพากันหวาดกลัวเพราะไม่เคยเห็น จะพากันวิ่งเข้าป่าเข้าบ้านกันหมด เพราะในสมัยนั้นไม่เคยมีหรือปรากฎขึ้นในวงการของสงฆ์และไม่เคยได้ศึกษาในพระวินัยที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนา พระอาจารย์เสาร์ และพระอาจารย์มั่น ก็มิได้ตำหนิชาวบ้าน ท่านเข้าใจดีท่านจะมีแต่ความเมตตาสงสารเท่านั้น ท่านพระอาจารย์เสาร์ กนฺสีโล ท่านเป็นพระมุ่งปฏิบัติธรรมเพียงอย่างเดียว ไม่เคยสนใจเรื่องภายนอกท่านเป็นพระเถระผู้ใหญ่ที่มีคนรู้จักนับถือมากก็จริง อยู่แต่การงานต่างๆที่จะให้ท่านเป็นผู้ดำเนินงานนั้นท่านไม่ค่อยสนใจมากนัก เพราะท่านถือว่าทางโลกธรรมแล้ว ถ้าเรายังต้องเกาะเกี่ยวอยู่เสมอๆแล้ว จะทำให้ทางด้านปฏิบัติของท่านไม่ก้าวหน้า
ปฏิปทาเดิมของพระอาจารย์เสาร์ กนฺสีโล นั้น ท่านปรารถนาพระปัจเจกพุทธเจ้า เวลาออกบำเพ็ญเร่งเพียรเข้ามากๆใจรู้สึกประวัดๆถึงความปรารถนาเดิม
         เพื่อความเป็นพระปัจเจกพุทธเจ้าเวลาออกเป็นเชิงอาลัยเสียดาย ยังไม่อยากไปพระนิพพาน ท่านเห็นว่าเป็นอุปสรรคต่อความเพียร เพื่อความรู้แจ้งซึ่งพระนิพพานในชาติปัจจุบัน ท่านเลยอธิฐาน ของดจากความปรารถนานั้นและขอประมวลมาเพื่อความรู้แจ้งซึ่งพระนิพพานในชาติ ปัจจุบันไม่ขอเกิดมารับทุกข์ทรมานในภพชาติต่างๆต่อไป
 
         ในปี พ.ศ. 2458 พระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีโล ได้ออกธุดงค์บุกป่าฝ่าดงดิบมาอยู่จำพรรษาที่ถ้ำภูผากูด อำเภอคำชะอี (ปัจจุบันจ.มุกดาหาร) สภาพป่าโดยรอบๆบริเวณภูเขาอันเป็นถ้ำแห่ง่หนึ่งเป็นภูมิประเทศที่เป็นป่าไม้เต็ง ไม้รัง ไม้แดง ไม้มะค่า แต่ะไม่เป็นดงทึบเเหมือนดงอื่นๆ ณ สถานที่แห่งนี้ท่านได้อยู่นานถึง 5 ปีเต็ม เพื่อเจริญภาวนา ท่ามกลางสัตว์ป่า เมื่อพระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีโล ได้พยายามพิจารณากาย เจริญทุกวัน พอจวนจะถึงกาลปวารณาออกพรรษา ท่านก็ได้ทราบชัดถึงความจริงทุกประการ ท่านจึงได้บอกให้พระอาจารย์มั่นทราบว่าเราได้เลิกการปรารถนา พระปัจเจกโพธิแล้ว และเราก็ได้เห็นธรรมตามความเป็นจริงแล้ว เมื่อพระอาจารย์มั่นได้ยินดังนั้นแล้ว ก็เกิดปิติยิ่งนักและได้ทราบในวาระจิตว่า พระอาจารย์ค้นพบทางวิมุตติแน่แล้ว
         ในอัตตภาพนี้ ในระยะนั้นพระอาจารย์มั่น ได้พรรษา 26 ท่านได้ปฏิบัติท่านพระอาจารย์เสาร์เหมือนกับท่านเป็นพระใหม่ คือปฏิบัติตั้งแต่การล้างบาตร ซักจีวร ปู่ที่นอน ตักน้ำถวายสรง ถูหลังทุกประการ แม้พระอาจารย์เสาร์ ท่านจะห้ามไม่ให้ทา แต่ท่านก็ปฏิบัติได้โดยมิได้มีอาการแข็งกระด้างแต่ประการใด หลังจากได้อยู่จำพรรษาที่ถ้ำผากูด ได้ 5 พรรษาแล้ว ท่านก็ได้ออกไปพักจำพรรษาในที่ต่างๆ ซึ่งไปๆมาๆ ในเขตท้องที่อำเภอมุกดาหาร และอำเภอคำชะอี หลังจากออกพรรษา ในปี 2469 พระอาจารย์เสาร์ ได้ออกธุดงค์ไปพักกับพระอาจารย์มั่น และได้ปรึกษาที่จะจัดวางระเบียบในการเดินธุดงค์อยู่เสนาสนะป่า
         เมื่อพระบุพพาจารย์ทั้งสองท่านตกลงกันแล้ว ท่านได้เรียกประชุมคณะศิษย์ทุกองค์มารรวมกันที่บ้านโนนแดง พระอาจารย์เสาร์ได้วางระเบียบ ในการปฏิบัติเพื่อให้คณะศิษย์ของท่านทุกองค์นำไปปฏิบัติให้เป็นระเบียบเดียว กัน ระเบียบการอุบายต่างๆ ลูกศิษย์สายพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต ได้น้อมนำมาประพฤติปฏิบัติจนทุกวันนี้
 
         ในสมัยที่หลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโล พักอยู่วัดบูรพา อำเภอเมืองอุบลราชธานี และได้จัดการสร้างสำนักสงฆ์ขึ้นหลายสำนักคือ สำนักสงฆ์ วัดภูเขาแก้ว ,สังนักสงฆ์ดอนธาตุ , สำนักสงฆ์วัดป่าบ้านสวนงัว, สำนักสงฆ์วัดบ้านเหล่าเสือโก้ก (วัดป่าสามัคคีชัย) , สำนักสงฆ์วัดป่าท่าหัวดอน ,สำนักสงฆ์วัดป่าดอนหอธรรม..

พระอาจารย์เสาร์ มรณภาพ
         เมื่อออกพรรษาทุกปี พระอาจารย์เสาร์จะพาออกธุดงค์ลงไปทางใต้ นครจำปาศักดิ์ หลี่ผี ปากเซ ฝั่งประเทศลาว แล้วก็ย้อนกลับมาจำพรรษาที่วัดดอนธาตุอีกทุกปี เมื่อถึงปี พ.ศ. 2483มีอยู่วันหนึ่งตอนบ่าย พระอาจารย์เสาร์ นั่งสมาธิอยู่ใต้โคนต้นยางใหญ่ พอดีขณะนั้นมีเหยี่ยวตัวหนึ่งได้บินโฉบไปโฉบมา โฉบเอารังผึ้งซึ่งอยู่บนต้นไม้ที่พระอาจารย์เสาร์นั่งอยู่ ผึ้งได้รุมกัดต่อยนพระอาจารย์เสาร์ หลายตัว จนท่านถึงกับต้องเข้าไปในมุ้งกลด พวกมันจึงพากันบินหนีไป
         ตั้งแต่นั้นมา พระอาจารย์เสาร์ก็ได้อาพาธมาโดยตลอด พอออกพรรษาแล้ว พระอาจารย์เสาร์ได้ไปวิเวิกทางด้านปากเซ หลี่ผี จำปาศักดิ์ แต่ไปคราวนี้พระอาจารย์เสาร์ป่วยหนัก ท่านจึงสั่งให้หลวงปู่บัวพาและคณะศิษย์นำท่านกลับมาที่วัดอำมาตย์ นครจำปาศักดิ์ประเทศลาว โดยมาทางเรือ ตั้งแต่เช้าจนถึงค่ำ ท่านนนอนบนแคร่ในเรือประทุนพระอาจารย์เสาร์ หลับตามนิ่งมาตลอด เพราะตอนนั้นท่านกำลังอาพาธหนัก อันเกิดจากผึ้งที่ได้ต่อยท่านตอนที่จำพรรษาที่วัดดอนธาตุ เมื่อถึงนครจำปาศักดิ์แล้ว ท่านลืมตามขึ้นพูดว่า " ถึงแล้วใช่ใหม่ ให้นำเราไปยังอุโบสถเลย เพราะเราจะไปตายที่นั่น"
 
         หลวงปู่บัวพา ปญฺญาภาโส จึงได้นำพระอาจารย์เสาร์เข้าไปในอุโบสถ แล้วพระอาจารย์เสาร์สั่งให้เอาผ้าสังฆาฏิมาใส่ แล้วเตรียมตัวเข้านั่งสมาธิ ท่านกราบพระ 3 ครั้ง พอกราบครั้งที่ 3ท่านนิ่งงันโดยไม่ขยับเขยื้อน ท่านมรณภาพในอิริยาบถนั่งกราบ ข่าวการมรณภาพ ก็แพร่กระจายไปเรื่อยๆ ชาวนครจำปาศักดิ์ ขอทำบุญอยู่ 3 วัน เพื่อบูชาคุณขององค์พระอาจารย์เสาร์ อยู่ 3 วัน พอวันที่ 4 บรรดาพระเถระ ญาติโยมชาวอุบลฯ จึงได้มาอัญเชิญศพของพระอาจารย์เสาร์ไปวัดบูรพาราม จังหวัดอุบลฯ ปีที่พระอาจารย์เสาร์ มรณภาพคือ ปี พ.ศ. 2484 (วันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2484 รวมอายุ 82 ปี 3 เดือน 1 วัน)
 
         ออกพรรษาแล้ว ปี พ.ศ. 2486 จึงได้จัดพิธีถวายเพลิงศพของพระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีโล ในงานนี้ หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ได้มาเป็นประธาน แต่ผุ้ดำเนินงานคือ พระอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม ในวันถวายเพลิงศพ นอกจากศพของพระอาจารย์เสาร์แล้ว ยังมีพระเถระผู้ใหญ่อีก 3 รูป ที่มีการฌาปนกิจในวันเดียวกัน คือ
 
1. ท่านเจ้าคุณ พระศาสนดิลก (เสน ชิตเสโน)
2. พระมหารัฐ รฏฺฐปาโล
3. พระครูวิโรจน์รัตโนบล (บุญรอด นนฺตโร)
   รวมเป็น 4 กับองค์พระอาจารย์เสาร์ ...


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น